ธรรมมะ ย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรม

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สมาธิในอริยมรรคอริยผล


ทีนี้ถ้าหากว่า จิตย้อนมามองรู้เห็นอย่างนี้ จิตของผู้นั้นเดินทางถูกต้องตามแนวทางอริยมรรค อริยผล หรือไม่ ถ้าหากว่า สงบ สว่าง นิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน ร่างกายตัวตนหาย แล้วก็สงบละเอียดเรียวไปเหมือนปลายเข็ม อันนี้เรียกว่าสมาธิขั้นฌานสมาบัติ ไปแบบฤาษีชีไพร ถ้าหากจิตของผู้ปฏิบัติไปติดอยู่ในสมาธิแบบฌานสมาบัติ มันก็เดินฌานสมาบัติ ทีนี้ฌานสมาบัตินี้มันเจริญง่ายแล้วก็เสื่อมง่าย ในเมื่อมันเสื่อมไปแล้วมันก็ไม่มีอะไรเหลือ แต่ถ้าหากสมาธิแบบอริยมรรคอริยผลนี้ ในเมื่อเราได้สมาธิซึ่งเกิดภูมิความรู้ความเห็น เช่น เห็นร่างกายเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไปแล้ว ภายหลังจิตของเราก็จะบอกว่าร่างกายเน่าเปื่อยเป็นของปฏิกูล ก็ได้ อสุภกรรมฐาน เนื้อหนังพังลงไปแล้วยังเหลือแต่โครงกระดูก ก็ได้อัฐิกรรมฐาน ทีนี้เมื่อโครงกระดูกสลายตัวแหลกไปในผืนแผ่นดินจิตก็สามารถกำหนดรู้ได้ธาตุกรรมฐาน แต่เมื่อในช่วงที่จิตเป็นไปนี่ จิตจะไม่มีความคิด ต่อเมื่อถอนจากสมาธิมาแล้วสิ่งที่รู้หายไปหมด พอรู้ว่ามันมาสัมพันธ์กับกายเท่านั้นเอง จิตตรงนี้จะอธิบายให้ตัวเองฟังว่านี่คือการตาย ตายแล้วมันก็ขึ้นอืด น้ำเหลือไหล เนื้อหนังพังไปเป็นปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก ในเมื่อเนื้อหนังพังไปหมดแล้วก็ยังเหลือแต่โครงกระดูก ทีนี้โครงกระดูกมันก็แหลกละเอียด หายจมลงไปในผืนแผ่นดิน ทำไมมันจึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะเหตุว่าร่างกายของคนเรานี้มันมีธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไหนเล่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขามีที่ไหน ถ้าจิตมันเกิดภูมิความรู้ขึ้นมาอย่างนี้ ภาวนาในขณะเดียวความเป็นไปของจิตที่รู้เห็นไปอย่างนี้ ได้ทั้งอสุภกรรมฐาน อัฐิกรรมฐาน ธาตุกรรมฐาน ประโยคสุดท้ายไหนเล่าสัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขามีที่ไหน จิตรู้อนัตตา เรียกว่า อนัตตานุปัสสนาญาณ ภาวนาทีเดียวได้ทั้งสมถะ ได้ทั้งวิปัสสนาการกำหนดหมายสิ่งปฏิกูลน่าเกลียดหรือกำหนดหมายรู้โครงกระดูก แล้วก็กำหนดหมายรู้ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นสมถกรรมฐาน ส่วนความรู้ที่ว่าสัตว์ บุคคลตัวตนเราเขาไม่นมีที่ไหน เป็นวิปัสสนากรรมฐาน เพราะฉะนั้น ท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย สมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน เป็นคุณธรรมอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อไม่มีสมาธิ ไม่มีฌานไม่มีวิปัสสนา ไม่มีวิปัสสนาก็ไม่มีวิชาความรู้แจ้งเห็นจริง เมื่อไม่รู้แจ้งเห็นจริง จิตไม่ปล่อยวางก็ไม่เกิดวิมุตติความหลุดพ้น สายสัมพันธ์มันก็ไปกันอย่างนี้ อันนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานในสายของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตเพราะฉะนั้น เราอาจจะเคยได้ฟังว่า ภาวนาพุทโธแล้วจิตได้แต่สมถกรรมฐานไม่ถึงวิปัสสนา อนุสติ 10 พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ จาคานุสติ อุปสมานุสติ ภาวนาแล้วจิตสงบหรือบริกรรมภาวนา เมื่อจิตสงบแล้วถึงแค่สมถกรรมฐาน เพราะว่าภาวนาไปแล้วมันทิ้งคำภาวนา เพราะฉะนั้น คำว่า พุทโธๆๆ นี้มันไม่ได้ติดตามไปกับสมาธิ พอจิตสงบเป็นสมาธิแล้วมันทิ้งทันทีทิ้งแล้วมันก็ได้แต่สงบนิ่ง แต่อนุสติ 2 อย่าง คือ กายคตานุสติ อานาปานสติ ถ้าหลักวิชาการท่านว่า ได้ทั้งสมถะทั้งวิปัสสนาทีนี้ถ้าเราภาวนาพุทโธ เมื่อจิตสงบนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ถ้ามันเพ่งออกไปข้างนอกไปเห็นภาพนิมิต ถ้าหากว่านิมิตนิ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็เป็นสมถกรรมฐาน ถ้าหากนิมิตเปลี่ยนแปลงก็เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ทีนี้ถ้าหากจิตทิ้งพุทโธ แล้วจิตอยู่นิ่งสว่าง จิตวิ่งเข้ามาข้างใน มารู้เห็นกายในกาย รู้อาการ 32 รู้ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งร่างกายปกติแล้วมันตายเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไป มันเข้าไปกำหนดรู้ความเปลี่ยนแปลงของสภาวะคือกายกับจิต มันก็เป็นวิปัสสนากรรมฐาน มันก็คลุกเคล้าอยู่ในอันเดียวกันนั้นแหละแล้วอีกประการหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะเคยได้ยินได้ฟังว่าสมาธิขั้นสมถะไม่เกิดภูมิความรู้ อันนี้ก็เข้าใจผิด ความรู้แจ้งเห็นจริง เราจะรู้ชัดเจนในสมาธิขั้นสมถะ เพราะสมาธิขั้นสมถะนี่มันเป็นสมาธิที่อยู่ในฌาน สมาธิที่อยู่ในฌานมันเกิดอภิญญา ความรู้ยิ่งเห็นจริง แต่ความรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในขณะที่จิตอยู่ในสมาธิขั้นสมถะ มันจะรู้เห็นแบบชนิดไม่มีภาษาที่จะพูดว่าอะไรเป็นอะไร สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น เช่น มองเห็นการตาย ตายแล้วมันก็ไม่ว่า เน่าแล้วมันก็ไม่ว่า ผุพังสลายตัวไปแล้ว มันก็ไม่ว่า ในขณะที่มันรู้อยู่นั่น แต่เมื่อมันถอนออกมาแล้วยังเหลือแต่ความทรงจำ จิตจึงจะมาอธิบายให้ตัวเองฟังเพื่อความเข้าใจทีหลังเรียกว่าเจริญวิปัสสนา

ไม่มีความคิดเห็น: