ธรรมมะ ย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรม

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บทสวด อาฏานาฏิยะปะริตตัง

บทนำ

อาฏานาฏิยะปะริตตังอัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ ปะริสานัญจะ ตัสสันนะมะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสสี มะหาวีโรปะริตตันตัมภะณะนะ เห ฯ
-----------------------------------------------------------------------

อาฏานาฏิยะปะริตตังวิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิส
สะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ
นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระ
เสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ
วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง
ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง เย จาปิ นิพพุตาโลเก
ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะ
สาระทา หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ

นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส สะระณัง
กะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร โกณฑัญโญ ชะนะ
ปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ สุมาโน สุมาโน ธีโร
เรวะโต ระติวัฑฒะโน โสภีโต ถุณะสัมปันโน อะโนมะ
ทัสสี ชะนุตตะโม ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ
สาระถี ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ อัตถะทัสสี
การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
ติสโส จะ วะทะตัง วะโร ปุนโน จะ วะระโท พุทโธ
วิปัสสี จะ อะนูปะโม สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู
สุขะทายะโก กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญ
ชะโห กัสสะโป สิริสัมปันโน โคระโม สักยะปุงคะโว ฯ

เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อัเนกะสะตะโกฏะโย
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต
ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง สีหะนาทัง นะทันเตเต
ปะริสาสุ วิสาระทา พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะ
ฏิวัตติยัง อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
ทวัตติงสะ ลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา พยา
มัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา
สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา มะหัปปะภา
มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา
สัพเพสานัง สุขาวะหา ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา
เลณา จะ ปาณินัง คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ
หิเตสิโน สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรา
ยะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา
มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน
ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา สะทา สุเขนะ รักขันตุ
พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต
สัพพะภะเยนะ จะ สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตา
ปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ ฯ

เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ เตปิ
ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯปุรัตถิมัสมิง
ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อันุรักขันตุ
อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ
เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ
สุเขนะ จะ ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มิหิทธิกา
เตหิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
อุตตะรัสมิง ทิสา ภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะปุริมะทิสัง
ธะตะรัฏโฐ ทิกขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข
กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา
ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรเยนะ สุเขนะ จะ
อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ
ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ฯนัตถิ เม
สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรังเอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม
สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯยังกิญจิ ระตะนัง โลเก
วิชชะติ วิวิธัง ปุถุระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุเต ฯ

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสถี ภะวันตุเต ฯ

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ

สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรังหิตัง เทวะมะนุสสานัง
พุทธะ เตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัตวา ธัมมะ ระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนังธัมมะเตเชนะ
โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา สังฆะระตะนัง
โอสะถัง อุตตะมังวะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา
สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะนิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณสุขัง พะลัง ฯ

ธรรมมะหลวงปู่จันทา ถาวโร



พระเปรต


สมัยหนึ่ง ไปวิเวกกับพระอาจารย์บุญพิน และพระจ่อย ไปอยู่ที่ถ้ำจำปา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานีถ้ำจำปาอยู่บนภูพาน ในถ้ำนั้นมีพระพุทธรูปทำด้วยไม้ และหินอยู่มาก โยมที่บ้านกะลึมบอกว่า มีผีเฝ้ารักษาไว้ แล้วโยมก็พาไปทำที่พักให้อยู่หน้าถ้ำพอค่ำลง ก็ทำความเพียร เดินจงกรมจนถึง ๓ ทุ่ม จากนั้น ก็ไหว้พระ สวดมนต์แล้วอุทิศส่วนบุญ เสร็จแล้วก็เข้าที่ นั่งภาวนา กำหนดพุทโธ ธัมโม สังโฆ ไม่นานจิตก็รวม พอจิตสงบ เกิดแสงสว่างจ้า ไม่นานเห็นเทพบุตรตนหนึ่งมาบอกว่า“ท่านอาจารย์หันปลายเท้าเข้าหน้าถ้ำ นั้นเป็นทางไปพระนิพพานนะ”ถามเขากลับไปว่า “ทางไปพระนิพพานคืออะไร ?”เขาก็ว่า “พระพุทธรูปนั่นแหละ ผู้เป็น นายโก ผู้นำโลกคือหมู่สัตว์เข้าพระนิพพานได้ ทีนี้ท่านหันเท้าเข้าไปอย่างนั้นมันผิดแล้ว”“โอ๋...โยมเขาทำให้อย่างนั้น ต้องขออภัยด้วย พรุ่งนี้จะให้เขาทำให้ใหม่”เสร็จแล้วเขาก็ลากลับไป จากนั้นไม่นาน ก็มีเปรตพระ ๓ ตนเข้ามาหา เป็นคนโบราณรูปร่างสูงใหญ่ มีเครายาวถึงหน้าอก เข้ามานั่งใกล้ ๆ ลูบขาข้างซ้าย แล้วพูดว่า“ท่าน ๆ ผมกับท่านใครจะแก่พรรษากว่ากัน ?”ก็ตอบเขาไปว่า “หลวงพ่อนั่นแหละ แก่กว่า”“ก็คงจะจริงอย่างท่านว่านั่นแหละ พรรษาของผมนั้นแก่กว่าท่าน แต่ว่าคุณธรรมของท่านนั้น แก่กว่าผมนะ”“แก่กว่าเพราะเหตุใด ?”“แก่เพราะท่านเจริญธรรม เดินจงกรม ยืนภาวนา นั่งสมาธิ อดนอนผ่อนอาหาร นี่มันแก่อย่างนี้ เพราะการเจริญธรรมถูกต้อง”จากนั้นก็เลยถามเขาต่อไปอีกว่า “พวกท่านเป็นพระ บวชในศาสนาพุทธอันบริสุทธิ์แล้ว สมควรที่จะเจริญสมณธรรม อย่างต่ำก็ไปสวรรค์ ๖ ชั้น อย่างกลางก็พรหมโลก (รูปพรหม ๑๖ ชั้น) อย่างสูงก็อรูปพรหม ๔ ชั้น และอย่างถึงที่สุด ก็วิมุตติหลุดพ้นไปพระนิพพาน ข้ามโลกสงสารไปได้ เพราะมีกิจอันเดียว แต่เหตุใดท่านจึงมาเป็นเปรตค้างอยู่ที่นี่”“ท่านเอ๊ย...พวกข้าพเจ้าเกิดมาพบปะศาสนาในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา (เป็นเจ้าเมืองเวียงจันทร์เรืองอำนาจและสร้างวัดต่าง ๆ มากมาย) เมื่อบวชมาแล้ว อุปัชฌาย์อาจารย์ก็ไม่แนะนำพร่ำสอนให้เดินจงกรม ยืนภาวนา นั่งสมาธิ อดนอน ผ่อนอาหาร พิจารณาธาตุขันธ์ เหมือนอย่างพวกท่านในขณะนี้”“บวชเป็นพระตั้ง ๑๐๐ กว่าพรรษา ก็ไม่ได้ภาวนาอะไร อยู่สนุกสนาน ฉันเช้า ฉันเพล แล้วก็ทำกิจการงานต่าง ๆ ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงม้า เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เหมือนอย่างฆราวาสญาติโยมเขา”“บวชมาแล้วก็ล่วงเกินสิกขาบทวินัยไตรสิกขาน้อยใหญ่เสียสิ้น ศีลวัตร ศีล ๒๒๗ ก็ล่วงเกิน จะเหลือก็แต่ปาราชิก ๔ ถึงเหลือก็เศร้าหมอง ล่วงเกินพระวินัยด้วยการขุดดิน ฟันไม้ จับจ่ายเงินทอง กินข้าวแลงแกงร้อน (ฉันอาหารยามวิกาล) นั่งนอนเสื่อสาดยัดด้วยนุ่นและสำลี (ต้องอาบัติปาจิตตีย์) กินลาบดิบ ลาบวัว ลาบควาย พอญาติโยมเขาฆ่าวัวความยอยู่ในบ้าน ก็สั่งเอาเนื้อสันใหญ่ ๆ ตับ ไต เอามาลาบก้อยกินกันสนุกสนาน กินกับเหล้ากับยา สนุกสนาน”นั่นแหละ ขุดดินฟันไม้ จับจ่ายเงินทอง ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กินข้าวแลงแกงร้อนก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์นะนั่นแหละ “พอถึงช่วงเดือน ๑๒ เขาลงจับปลากัน ก็ให้เณรไปขอปลาและกุ้งเป็น ๆ มาลาบกินกันสนุกสนาน บางทีก็เข้าป่าหากระต่ายและอีเห็นมาหมกมาคั่ว (ทำอาหาร) กินกันสบาย”“ทีนี้ฤดูทำนา เขาก็มานิมนต์ไปช่วยเขาดำนา แล้วก็กินเหล้ากินยา ลาบวัวลาบควาย สนุกสนานคุยสาว (จีบผู้หญิง) นะท่าน ถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็ไปเก็บเกี่ยวกับเขา กินเหล้ากินยา เล่นสาว (พูดเกี้ยวผู้หญิง) สนุกสนาน เวลานวดข้าว เขาก็มานิมนต์ไปนวดกับเขา เวลาเอาข้าวขึ้นยุ้งขึ้นฉาง เขาก็มานิมนต์ไปสวดมนต์ข้าวนะ แหม..กินเหล้ากินยาวันยังค่ำ ท่านเอ๊ย...สนุกสนาน ได้กินลาบไก่ ต้มไก่ สนุกสนาน”“วันพระก็ตีกลองให้ผู้สาว (หญิงสาว) มาดายหญ้าในบริเวณวัด แล้วก็เล่นสาวสนุกสนาน งานบุญพระเวสสันดร มีการละเล่นต่าง ๆ ก็เล่นสาวสนุกสนาน จับโน่นจับนี่ เมื่อมีโยมตายในหมู่บ้าน เขานิมนต์ไปสวดกุสสลา มาติกาในงานศพ มีการละเล่นในงานนั้น ก็หยิบหยอกกับผู้สาว จับก้นจับขาจับของดี ถูกบ้างไม่ถูกบ้าง นั่นแหละ ทำอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ”“ทีนี้มาถึงเดือน ๕ เมษายน ขึ้นปีใหม่ อุปัชฌาย์อาจารย์ก็บอกว่า เอ้า...พระเราเป็นนาคนะ ฤดูนี้เราเป็นนาค เล่นน้ำได้ ไม่เป็นบาปเป็นกรรม นั่นแหละ มันก็สนุกสนาน เล่นน้ำปล้ำผู้สาว จับอกจับก้น จับของลับกันสนั่นหวั่นไหว แต่อาจารย์ไม่ให้เสพนะ ถึงอย่างนั้นมันก็เกิดความกำหนัดยินดีในกาม นั่นแหละกระทำกันอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ เสร็จแล้วก็มีการขอขมาลาโทษกัน ทำพิธีสู่ข้างเล่าขวัญ (พิธีขอขมา) อันนี้ต้องอาบัติทุกกฎนะ”“นั่นแหละ ความไม่ดีทั้งหลายที่พวกข้าพเจ้าทำขึ้นจึงได้ส่งผลให้มาเกิดเป็นเปรตตกค้างอยู่ที่นี่”นอกจากเปรตพระ ๓ ตนนี้แล้ว ก็ยังมีเปรตแม่ขาวนางชี (แม่ชี) ตกค้างอยู่ที่นั้นอีกมากพอถามว่า เมื่อไหร่จะพ้นกรรม เขาก็บอกว่าไม่รู้ ถามว่าทำอย่างไรจึงจะพ้นกรรมได้ เขาก็ไม่ทราบ จึงได้กำหนดจิตถามพระธรรมว่า“เปรต ๓ ตนนี้ กับแม่ชีนั้น เคยเป็นญาติของเราบ้างไหม ?”“โอ๋...เป็นมาหลายภพหลายชาติแล้ว แต่มาภพนี้ชาตินี้ เขาทำกรรมไม่ดี จึงมาเกิดเป็นเปรต นั่นแหละ จงช่วยเหลือเขาเสีย ถ้าเราไม่ช่วยแล้ว ก็ไม่มีใครช่วยเขาหรอก”จากนั้น จึงพูดกับเปรตเหล่านั้นว่า “พระพุทธรูปที่อยู่ในถ้ำนั้น อย่างเพิ่งหึงหวงห่วงอาลัยนะ เมื่อมีพระเณรหรือญาติโยมมาเอา ก็ให้เขาไปเถิด เราจะได้พ้นจากบาปกรรมได้ เอ้า...เตรียมรับพระไตรสรณคมน์และศีล ๕ จะช่วยให้พ้นจากสภาพเปรตไปเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก และเมื่อข้าพเจ้าเดินจงกรมเสร็จแล้ว ก็มารับส่วนบุญนะ”เจริญสมณธรรมอยู่ที่นั่นได้ ๒ - ๓ เดือน ก็มีแม่ชีคนหนึ่งมาบอกลาว่า“ท่านอาจารย์ ดิฉันพ้นจากบาปกรรมชั่วช้าลามกแล้ว จะได้ไปเกิดที่เมืองมนุษย์อีก”“ไปดีเถิด จงภาวนา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ไปนะ ไปที่ อ.บ้านผือ หรือที่ จ.อุดรธานี โน่นแหละดี เพราะจะมีพระกรรมฐานผ่านมามาก”ทีนี้พอล่วงมาถึงเดือน ๖ ก็ได้บอกพวกเปรตทั้งหลายว่า ปีนี้จะกลับไปจำพรรษากับหลวงปู่บัว สิริปุณโณ ที่วัดป่าบ้านหนองแซง ปีหน้า ถ้าบุญพาวาสนาส่ง จะกลับมาโปรดอีกนะ แต่แล้วก็อย่าได้ประมาท ขอให้พากันเดินจงกรม บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เอาบุญ ยืนภาวนา บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เอาบุญ ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฝึกจิต อบรมจิต สอนจิต ทรมานจิต ให้มันเป็นไปในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้จิตอยู่กับนักปราชญ์ คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ นั่นแหละ จะเป็นจิตเกษมสำราญ พ้นจากกำเนิดเป็นเปรต ไปเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก โดยเร็วพลัน ช่วยตัวเองนะ อัตตาหิ อัตตะโนนาโถ (ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน) พึ่งคนอื่นชื่นใจเป็นบางครั้ง ไม่เหมือนดั่งพึ่งตนผลทวี ตนจะเป็นคนดี หนีทุกข์โทษภัย ในวัฏฏสงสาร มีพระนิพพานเป็นที่ไปเบื้องหน้า ก็เพราะตนทำดี สะสมบุญดีให้เกิดมีขึ้น เพราะตนพึ่งตน อันนี้ข้อสำคัญมั่นหมายนั่นแหละ ต่อแต่นั้น ก็ไปจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่บัว พอออกพรรษาแล้วก็กลับมาที่เก่าอีก ไปแล้วรู้สึกว่าเป็นเบา ๆ นะ พวกเปรตทั้งหลายนั้นหายไปหมดแล้ว เมื่อภาวนาจิตสงบแล้ว มีพวกเทวดาทั้งหลายมาขอรับพระไตรสรณคมน์และศีล ๕ เสร็จแล้วเทศน์ให้ฟัง แล้วก็ถามเขาว่า“พวกเปรตพระ ๓ ตน กับแม่ชีทั้งหลาย หายไปไหนกันหมด”เขาก็ตอบว่า “ท่านมาโปรดเขา เมื่อปีกลายโน้น เขาก็ได้เจริญสมณธรรมตามอย่างที่ท่านสอนนั้น แล้วก็รักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ จึงได้ไปเกิดที่เมืองมนุษย์กันหมดแล้วละท่าน”นั่นแหละ เรื่องการไปวิเวกตามสถานที่ต่าง ๆ ก็ได้สงเคราะห์ฝูงเปรตทั้งหลาย และผีสางคางแดงทุกอย่างนี่แหละการไปเจริญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ นั้น ก็ได้ธรรมะเกิดขึ้นสอนใจ เขาเป็นอย่างไรตกทุกข์ได้ยาก เป็นเปรตเป็นผีค้างโลกโลกีย์อย่างนั้น ก็เพราะทำบาปหยาบช้าลามก ลืมตนคบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต ๆ พาไปหาผลคบคนชั่วพาตัวยากจน คบใครก็เป็นอย่างนั้น ทีนี้ก็น้อมมาเป็นธรรมะสอนเรา ถ้าเราเป็นผู้ประมาทแล้ว ต่อไปก็จะไม่แคล้วคลาดจากสมบัติ อย่างที่เขาได้นะ นั่นแหละ ข้อสำคัญมั่นหมายที่มา หนังสือธรรมมะพเนจร

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หลวงปู่สาย เขมธมฺโม


๏ ปฏิปทาตามแบบอย่างครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น


ธรรมะที่หลวงปู่นำมาเทศน์โปรดศรัทธาญาติโยมนั้น เกิดจากธรรมที่ผุดขึ้นมาจากการฝึกฝนอบรมปฏิบัติทั้งสิ้น มิใช่ไปหาอ่านจากตำรามาเล่าสู่กันฟัง มีลักษณะเป็นคำกลอน มีทั้งสำนวนไทยอีสานและสำนวนไทยกลาง มีความคล้องจองและมองเห็นธรรมะอย่างแจ่มชัดแบบง่ายๆ ให้สาธุชนได้รู้จิตของตนเอง เพื่อจะได้บังคับกายและวาจาให้ทำดี มีความสงบสุขร่มเย็น ดังคำกลอนที่ว่า “หมากัดหมาไม่เหมือนหมากัดคน หมากัดคนไม่เหมือนคนกัดคน คนกัดคนหมาไม่สนใจด้วย หมาก็ไม่ช่วยเพราะไม่ใช่เรื่องของหมา” นอกจากนี้ ท่านยังมีธรรมะสุภาษิตที่เทศนาบรรยายออกมาอย่างคล่องปาก แม้ท่านจะไม่เคยเรียนการแต่งกลอนมาจากที่ใด แต่ท่านสามารถเทศน์สอนคนได้คล่องมาก เท่าที่คณะศิษยานุศิษย์รวบรวมเอาไว้สามารถพิมพ์เป็นหนังสือได้เป็นเล่ม สิ่งหนึ่งที่ท่านยึดมั่นและยกขึ้นมาสอนลูกศิษย์ให้ระลึกถึงคำสอนของพระศาสดา คือประโยคที่ว่า “ใครจะเป็นผู้วิเศษเหนือพระพุทธเจ้า จะมีใครเล่าอยู่เหนือโลกทั้งสาม เหนือพระศาสดาจารย์ไปอีก ไม่มีในโลกนี้หรือโลกไหนไม่มีแล้ว เหนือแก้วพุทธะหาไม่มีเลย” นอกจากนี้หลวงปู่สายเคยให้คติธรรมนำไปขบคิดในการดำเนินชีวิตว่า “ของจริง ไม่เหมือนของปลอมฉันใด ทองจริงก็ย่อมไม่เหมือนทองปลอมฉันนั้น” หลวงปู่ท่านเป็นผู้มีเมตตาธรรมสูงมาก แม้แต่การกราบเรียนถามปัญหาธรรมทางโทรศัพท์ผ่านพระอุปัฏฐาก หลวงปู่ก็เมตตาตอบให้ นับตั้งแต่หลวงปู่สายมาอยู่พำนักจำพรรษาที่ภูน้อย (ภูพนัง) แห่งนี้ จวบจนกระทั่งสร้างขึ้นเป็น “วัดป่าพรหมวิหาร” ในทุกวันนี้ หลวงปู่ยังไม่เคยได้ย้ายไปจำพรรษาที่ใดอีกเลย ปัจจุบัน หลวงปู่สาย เขมธมฺโม สิริอายุได้ 85 พรรษา 29 (เมื่อปี พ.ศ.2550) แม้วัยจะล่วงเข้าสู่ไม้ใกล้ฝั่ง แต่ท่านก็ยังสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้เป็นปกติ ทั้งนี้ ปฏิปทาของหลวงปู่ยังปฏิบัติตามแบบอย่างที่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นนำพาดำเนินไป สำหรับธุดงควัตรที่หลวงปู่ยึดถืออย่างเคร่งครัด คือ บิณฑบาตเป็นวัตร, บริโภคอาสนะเดียวเป็นวัตร และฉันภาชนะเดียวเป็นวัตร ส่วนธุดงควัตรข้ออื่นๆ นั้น ล้วนปฏิบัติตามกาลอันสมควร ถือได้ว่าหลวงปู่เป็นพระดีที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้สนิทใจโดยแท้

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หลวงปู่สาย เขมธมฺโม

๏ พระธรรมเทศนา
• ผู้หนีชาติ ขาดภพ จบเกิด ประเสริฐแท้ ไม่เหมือน ผู้ลอยแพอยู่ในวัฏฏะ เวียนไป วนมา ไม่มีเวลาจบสิ้น • คำเขาด่า เขาว่าเสียดสีใดๆ มันไหลเข้าหูใด ให้ไหลออกหูนั้น ท่านจะไม่ทุกข์ใจ เมื่อไม่เก็บมันไว้ ถ่านไม่มีไฟ ความร้อนมันก็หาย
• แก้ความไม่ดีใดๆ ให้แก้ที่ใจ อย่าไปแก้ข้างนอก เพราะความไม่ดีไม่ชอบมันอยู่ที่ใจ ต้องแก้ไขตรงนี้ จุดนี้สำคัญที่มันฝังอยู่
• นักภาวนาอย่าปล่อยสติ ควบคุมมันไว้ให้อยู่กับปัจจุบัน อย่าปล่อยมันไปอดีต อนาคต อย่าพูดให้เสียคำ อย่าทำให้เสียชื่อ ตีนมือให้รักษา มารยาทจรรยาให้งามอยู่ตลอด
• จิตร้อนให้ถอนด้วยธรรม ใจดำให้ซักฟอกด้วยศีล จะอยู่กินเป็นสุขใจ เมื่อถอนได้ ฟอกได้ อาหารเต็มตา ข้าวปลาเต็มถ้วยเต็มจาน ผู้รับประทานให้รู้จักประมาณ คือ การพอดี อย่าให้โลกตำหนินินทา เหมือนพราหมณ์ผัวนางอมิตตตากินจนท้องแตก
• ผลไม้ก็มีผลดี ผลเน่า คนเราก็มีคนบุญ คนบาป มีทุกภาษาทุกชาติคนบาป คนบุญ ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เขาเป็นธาตุ ๔ ไม่วันหน้าก็วันนี้ เขาจะแตกจะดับกลับไปตามเรื่อง เถียงไม่ขึ้น เขาจะเลือกคืนวันไหนก็ได้ ไม่ใช่ของเราเลย
• เลิกยึดกายเสียบ้าง ปล่อยวางเสียที เขาเป็นธาตุ ๔ ไม่ใช่ตัวเรา เขาไม่เที่ยง เรื่องของเขา ให้เราปล่อยมือ อย่าถือให้หนัก เมื่อรู้จักความจริงว่ามันไม่เที่ยงตามเรื่องของสังขาร ไม่ยึดมันนั้นถูกทางแท้ • นักชก ระวังหมัด นักปฏิบัติ ระวังกิเลส นักชกก็หมดยกสุดท้าย ความตายก็สุดท้ายของชีวิต คบคนชั่วทำไม นักปราชญ์มีถมไปทำไมจึงไม่คบ
• กรรมดีกรรมชั่วมาจากตัวผู้เราทำ มาจากคำที่เราพูด อาหารใจคือธรรมพระศาสดา อาหารตาคือรูปที่ได้ดู อาหารหูคือเสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง
• ความอยากเป็นทุกข์ อยากน้อยทุกข์น้อย อยากมากทุกข์มาก ไม่อยากไม่ทุกข์ ผู้มีสุขคือผู้หมดความอยาก• จิตมืดบอดด้วยกิเลสตัณหา เพราะขาดแสงปัญญา มันจึงมืดบอด จึงนอนกอดทุกข์ ไม่ลุกไปไหน • ช้างเผือกมีกำลังแรงทำลายบ้าน ช้างสารมีกำลังแรงเต็มตัว ไม่เท่าแรงความชั่วของเราผลักดันให้เราหันตกไปในที่ต่ำ
• แก้ตัณหากิเลสต้องแก้ที่ใจ แก้ที่อื่นไม่หาย แก้ที่ใจก็สิ้นเรื่อง มันตั้งบ้านตั้งเมืองมานานอยู่ที่นั้น ตัดกิเลสตัณหาให้ขาด ผู้ใดตัดไม่ขาด ผู้นั้นจะเป็นทาสของมัน หาวันจบไม่พบ
• ตัวอยู่กับเรา เงามาจากตัว ความดีความชั่วมาจากตัวของเรา เหมือนกับเงามาจากตัวเราไม่มีผิด
• ปากเขาอยากไปนิพพาน แต่เขาทำงานอยู่ในนรก อะไหล่รถไม่ดี เขายังเปลี่ยนได้ ใจเราคิดไม่ดี เปลี่ยนความคิดใหม่เสียที ความคิดที่ดีๆ กว่านี้มีถมไป
• ก่อนไม้จะเป็นถ่าน เขาใช้ไฟเผา ก่อนความดีจะเกิดแก่เรา ต้องใช้ธรรมเผากิเลส โลภ โกรธ หลง หายหนี ความงามความดีก็ก้าวเข้ามา
• บุญมาจาก กาย วาจา ใจ บาปใดๆ ก็มาจากที่นี่ ที่อื่นไม่มีทางมา กาย วาจา ใจ เป็นที่ไหลมาของเขา สุขอยู่ที่กายกับใจ ทุกข์ก็อยู่ที่กายกับใจ บ้านสองหลังนี้เป็นที่อยู่ของสุขและทุกข์
• นายังไม่ถาง อย่าพึ่งทำทางเอาเกวียนมาขนข้าว ยังไม่รู้แจ้งธรรมของพระพุทธเจ้า อย่าว่าตัวสำเร็จธรรม
• ดูชีดูพระ ให้ดูข้อวัตรปฏิบัติ ดูคฤหัสถ์ให้ดูการทำมาหากิน ผิดธรรมผิดศีลหรือไม่ ให้ดูที่นี่ ดูคนอย่าดูแต่ร่างกาย ดูหญิงดูชายให้ดูความประพฤติ
• อย่าเชื่อคำโจร อย่าเชื่อคนพาล อย่าเชื่อการทำชั่ว ว่าตัวจะดี สามอย่างนี้จำไว้ เท่าวันสิ้นลมหายใจ ใครเชื่อใครทำจะนำพิษคิดให้ดี
• คนชั่วอย่าร่วมงาน คนพาลอย่าเอาเป็นมิตร คนสุจริตมีถมไปคบทำไมคนชั่ว มันจะเสียตัวผู้คบ
• อย่าพูด อย่าทำ สิ่งที่ไม่ควรทำ คำที่ไม่ควรพูด ละอายมนุษย์ผู้มีหู มีตา ผู้เขามีศีลธรรมพระศาสดา เขาจะหัวเราะ
• ใจไม่คิด ปากไม่พูด ตัวไม่ทำ ความชั่วทรามไม่มีทางมา ใจคิด ปากพูด มือทำ ทำไม่ดีไม่งาม ความชั่วทรามไหลมาหาเราเลย
• ภพน้อยเราก็คงจะไป ภพใหญ่เราก็คงจะมา เพราะอวิชชาบังใจเราไว้ จึงไม่มองเห็นชาติภพของคนจนเท่าวันนี้ ไม่รู้กี่ล้านภพ ไม่จบสักที
• อย่าดีใจจนเกินไป อย่าเสียใจจนเกินไป อย่าร้อนใจจนเกินไป ให้อยู่ในความพอดีนี้สวยงามมาก ถูกหลักศีลธรรม
• ว่าวลอยฟ้าอยู่ได้เพราะลม ศาสนาพระโคดมอยู่ได้เพราะเราไม่ปล่อยให้ศีลธรรมสูญหาย สัตว์เขาไม่ดื่มสุรา ผู้ชอบนักหนาคือมนุษย์ ไม่หยุดสักวัน ดื่มกันอยู่เช่นนั้น วันศีล วันพระ ไม่ละอีกด้วย จนๆ รวยๆ ดื่มได้ไม่เลือกคน
• ผู้ทำความเพียรถึงสว่างคือผู้เดินทางไปพระนิพพาน ไม่มีการพัก พระกรรมฐานต้องอยู่กับความเพียร เหมือนดวงดาวดวงเดือนที่ลอยตัวอยู่บนฟ้า ความเพียรกล้าจึงจะเห็นธรรม
• ผู้ทำความดีเต็มตัว ไม่เหมือนผู้ทำความชั่วเต็มใจ ผู้ทำความดีเต็มตัว ใครเห็นก็บูชา ผู้ทำความชั่วเต็มใจ ใครเล่าเขาจะบูชา เขาเกลียดน้ำหน้า ไม่ฆ่าก็ขังคุก
• ดีเต็มตัวไม่เหมือนชั่วเต็มตน ดีเต็มตัวเขาว่าคนดี ไม่มีความชั่ว ชั่วเต็มตนเขาว่าคนทำชั่วไม่มีความดี ดีไปสุคติ ชั่วไปทุคติ เมื่อละโลกนี้ที่ไปของเขาและทั้งพวกเรา ผู้ทำดีชั่ว
• โจรปล้นไม่เหมือนความเกียจคร้านปล้น โจรปล้นเรายังหาทรัพย์ได้ ความเกียจคร้านปล้น เท่าวันตายเราก็ไม่มีทรัพย์

หลวงปู่สาย เขมธมฺโม







๏ สร้างวัดป่าพรหมวิหาร


ในช่วงที่หลวงปู่สายปลีกวิเวกอยู่ที่ภูน้อย (ภูพนัง) เกิดฝนตกอย่างหนัก ชาวบ้านได้นำสังกะสีเก่าๆ มาทำที่พักชั่วคราวให้ท่านพอกันแดดฝนได้เท่านั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัดป่าพรหมวิหารขึ้นในปี พ.ศ.2524 และท่านก็ได้อยู่จำพรรษาที่แห่งวัดนี้จนถึงปัจจุบัน หลวงปู่สายตกลงใจปฏิบัติภาวนาอยู่ที่ภูน้อย (ภูพนัง) แห่งนี้ ในระยะแรกได้รับความยากลำบากอยู่เป็นอันมาก โดยเฉพาะในเรื่องน้ำ แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับท่าน ตรงกันข้ามกลับกลายเป็นเครื่องสนับสนุนในการปฏิบัติความเพียรเป็นอย่างดี แม้ท่านจะนั่งวิปัสสนากรรมฐานเพียงลำพังด้วยตัวเอง โดยไม่ได้อยู่กับครูบาอาจารย์ แต่ท่านมักจะมีธรรมมาเตือนอยู่เสมอ ไม่ว่าเกี่ยวกับธรรมหรือวินัย ประหนึ่งว่ามีครูบาอาจารย์คอยตักเตือนอยู่เสมอ ทำให้ท่านปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งบางเรื่องไม่มีตำรา




หลวงปู่สาย เขมธมฺโม


๏ ลำดับการจำพรรษา

แม้ในการบวชครั้งที่ 2 ท่านจะมีอายุมากถึง 57 ปีแล้วก็ตาม แต่หลังจากบวช ท่านได้เข้าป่าเพื่อบำเพ็ญเพียรเพียงอย่างเดียว ในปีแรก ได้ไปพำนักจำพรรษาอยู่กับหลวงตาขนบ ณ วัดดอนอีใข อ.เมือง จ.อุดรธานี พรรษาที่ 2 ย้ายไปจำพรรษาที่วัดป่าศรีอุดม อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี โดยมีหลวงปู่แสง ญาณวโร เป็นประธานสงฆ์ คอยให้คำแนะนำ ทำให้การปฏิบัติภาวนามีความรุดหน้า จิตสงบ ในพรรษานี้ ท่านได้มีโอกาสไปกราบเรียนธรรมปฏิบัติกับ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร ณ วัดป่าแก้วชุมพล ต.บ้านชุม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร พระอาจารย์สิงห์ทอง ได้ให้อุบายธรรมเพื่อให้หลวงปู่ได้นำไปพิจารณาและแนะแนวทางในการปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อท่านได้รับความกระจ่างหมดปัญหาที่ติดขัด ก็ออกท่องปลีกวิเวกและธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศ และประเทศใกล้เคียง เพื่อค้นหาความจริงต่อไป ในบางครั้ง หลวงปู่สาย มีโอกาสได้เข้าไปพักอาศัยกับครูบาอาจารย์ เพื่อรับฟังโอวาทธรรม อาทิ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่คำดี ปภาโส, หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ ฯลฯ ในตอนที่หลวงปู่สายเข้าไปกราบ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ นั้น หลวงปู่อ่อนได้ทักขึ้นว่า “ผ่านเสียงได้แล้วนี่” สาเหตุที่หลวงปู่อ่อนทักเช่นนี้ คงเป็นเพราะหลวงปู่สายเดินจงกรมสู้กับเสียงที่เกิดจากเครื่องขยายที่ใช้ในงานมหรสพ หลวงปู่สาย ปรารภว่า “เสียงก็อยู่ส่วนเสียง ไม่เข้ามากระทบจิตเลย ต่างคนต่างอยู่” นอกจากนี้ ท่านยังเป็นศิษย์องค์สำคัญของ “หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน” แห่งวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระสงฆ์ที่ได้คุณธรรมชั้นสูง หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ ไม่เคยตำหนิ หรือกล่าวร้ายผู้อื่นเลย

หลวงปู่สาย เขมธมฺโม






๏ การอุปสมบทครั้งแรก



ในช่วงวัยหนุ่ม ได้ย้ายถิ่นฐานจากบ้านเดิมที่จังหวัดร้อยเอ็ดไปอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี และได้สมรสกับนางปาน ผายม มีบุตรด้วยกัน 2 คน โดยท่านได้หาเลี้ยงครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพทำนาและเลี้ยงปลาขาย เมื่ออายุได้ 48 ปี จึงได้หันเหเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อันเนื่องมาจากท่านได้ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ ตอนแรก ท่านคิดว่าคงจะเป็นเพราะภูตผีเจ้าที่เจ้าทางมาทำให้ป่วย ตามความเชื่อของคนแถบนั้น จึงได้ทำเครื่องเซ่นไปไหว้ผีเจ้าที่เจ้าทาง แต่ปรากฏว่าอาการป่วยไม่ดีขึ้น จึงฉุกคิดว่าไม่ใช่การกระทำของภูตผีดังที่เข้าใจ ท่านคิดหาสาเหตุอื่นที่ทำให้ป่วย ดำริขึ้นมาได้ว่าครั้งหนึ่งเคยป่วยมาก่อน ครั้งนั้น ได้เคยบนเอาไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะบวชแก้บน ต่อมาอาการป่วยหายไปเอง แต่ท่านยังไม่ได้บวช ทำให้ท่านคิดว่าอาจจะเป็นเพราะได้บนบานเอาไว้ แต่ไม่ยอมบวชแก้บน จึงทำให้ต้องกลับมาป่วย เมื่อคิดได้ดังนี้ จึงตัดสินใจบวชแก้บน โดยเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดโยธานิมิต ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีหลวงปู่อ่อนตา เขมงกโร เจ้าคณะอำเภอหนองวัวซอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังเข้ารับการอุปสมบทแล้ว อาการป่วยของท่านก็ได้หายเป็นปลิดทิ้ง แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นการบวชเพื่อแก้บนก็ตาม ท่านก็หมั่นปฏิบัติภาวนาอยู่ไม่ขาด การบวชในครั้งนี้ ท่านครองเพศบรรพชิตอยู่ได้นานถึง 6 พรรษา ก่อนลาสิกขาออกมา สาเหตุเนื่องเพราะมีคนบอกว่าการบวชแก้บนจะต้องสึก ถ้าไม่สึกจะต้องมีอันเป็นไป เพื่อความสบายใจ ท่านจึงขอลาสิกขามาใช้ชีวิตเพศฆราวาส กลับไปอยู่กับครอบครัวเหมือนเดิม






๏ การอุปสมบทครั้งที่ 2



หันกลับมาใช้ชีวิตในเพศฆราวาสได้ไม่นาน ต่อมานายสายเกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลก ตัดสินใจขอบวชอีกเป็นครั้งที่ 2 และนำเรื่องนี้ไปปรึกษาครอบครัวก่อน ซึ่งภรรยาและบุตรต่างยินดีไม่ขัดข้องในความประสงค์ของท่าน ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2521 ณ พัทธสีมาวัดบุญญานุสรณ์ ต.หนองวัวซอ อ.หนองวัวซอ จ. หนองบัวลำภู โดยมีพระครูประสิทธิ์คณานุการ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุวรรโณปมคุณ เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระครูโสภณคณานุรักษ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมธมฺโม” แปลว่า “ผู้มีธรรมอันเกษม”

หลวงปู่สาย เขมธมฺโม


หลวงปู่สาย เขมธมฺโม

วัดป่าพรหมวิหาร ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู

๏ อัตโนประวัติ

ในยุคปัจจุบัน หากเอ่ยนามพระสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีเมตตาธรรมสูงของเมืองไทย ย่อมปรากฏนามพระอริยสงฆ์อยู่หลายรูปด้วยกัน อาทิ หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย, หลวงพ่อสีทน กมโล วัดสิรินธรวราราม (วัดภูพร้าว) อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี, พระอาจารย์เสวก คุณสังวโร วัดป่าดอนยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เป็นต้น รวมทั้ง พระอาจารย์ด้านวิปัสสนาธุระที่เลื่องชื่อแห่งเมืองหนองบัวลำภู “หลวงปู่สาย เขมธมฺโม” เจ้าอาวาสวัดป่าพรหมวิหาร บ้านภูศรีทอง ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู พระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบในสายกัมมัฏฐานหลวงปู่มั่น ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระสงฆ์ที่ได้คุณธรรมชั้นสูง บำเพ็ญเพียรตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่ายปฏิปทางดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็นเป็นร่มโพธิ์ทองของบรรดาพุทธศาสนิกชน ย่อมเป็นที่รู้กันอย่างดียิ่งในหมู่สาธุชนชาวพุทธ หลวงปู่สาย มีนามเดิมว่า สาย แสงมฤค เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2465 ตรงกับวันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ ณ บ้านกุดน้ำใส ต. กุดน้ำใส อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายทอก และนางเคน แสงมฤค เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนวัดบ้านนาชม ต.แสนสุข อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ก่อนลาออกมาช่วยครอบครัวประกอบสัมมาอาชีพ