ธรรมมะ ย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรม

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

แม่ชีนารีมาสอนให้ฝึกสติ พุท-โธ


แม่ชีนารีมาสอนให้ฝึกสติ พุท-โธ


แม่ทาเมื่อเห็นดังนั้นก็วิตกเกิดความกลัวตายขึ้น จึงได้เรียกลูกเข้ามาใกล้ๆแล้วร้องบอกว่า "อย่าไปเล่นไกลนะ" ดังนั้นลูกที่ยังเด็กเล็กก็มานอนข้างๆแม่ทา นอนเล่นหนุนตักคลอเคลียอยู่กับแม่ทา แล้วแม่ทาก็ได้เห็นแม่ชีรูปหนึ่งหน้ามนใสมาปรากฏรูปกายให้เห็นอย่างเด่นชัดในนิมิต แม่ทาก็ได้พูดสนทนากับแม่ชีผู้นั้นก็แนะนำชื่อ "แม่ชื่อแม่ชีนารีเด้อ" แม่ทาจึงถามแม่ชีต่อไป "คุณแม่อยู่วัดไหนคะ" แม่ชีนารี "โอ๋ แม่ก็อยู่วัดสุทธาวาสนั่นแหละลูก ลูกจะนอนทำไป เอาพุทโธไม่ดีหรือลูกหล่า (หมายถึงสรรพนามผู้ใหญ่เรียกผู้น้อยลูกหล่าคือลูกคนสุดท้าย) จิตใจจะได้ดีขึ้น แม่ก็หายจากโรคภัยก็จากตัวนี้แหละ" ลูกถามต่อ "แม่ๆ ตะกี้พูดอะไร?" แม่ทาลืมตาตอบลูก "แม่บ่ได้ฝันน่ะยังมีสติรู้ตัวอยู่" ลูกถามต่อ "แม่ๆ ตะกี้พูดอะไร?" แม่ทาก็ตอบลูกออกไปว่า "พูดอะไรก็ให้ได้พูดกับท่านก่อน" ลูกก็ได้ออกไปเล่นอยู่ไกลๆ ออกไป แม่ชีนารีจึงถามต่อว่า "เจ้าเป็นอะไรล่ะจึงมานอน" แม่ทาตอบ "โอย ! ไปไหนก็ไม่ได้ป่วยใจ" แม่ชีนารีก็บอกว่า "โอ๊ย ! ป่วยใจมันไม่ยากนะลูกหล่า มันไม่ยากหรอกแม่ก็เคยป่วยใจนะ" แม่ทาก็ถามว่า "ป่วยใจทำอย่างไรคุณแม่ มันทำไมป่วยหลายแท้" แม่ชีนารีก็ตอบให้กำลังใจว่า "ไม่ตาย ยังไงลูกก็ไม่ตาย" แม่ทาตอบ "โอย ! คุณแม่ถ้าลูกไม่ตายบุญผลานิสงส์มากนะ" แม่ชีนารี "แม่ไม่ให้เจ้าตาย แม่จะให้เจ้านี้เหยียบฟ้าได้ เหยียบดินได้" แม่ทาร้องทัก "โอย ! คุณแม่อย่ามาพูดสูงเช่นนั้น ฟ้าก็เป็นฟ้า ดินก็เป็นดิน ดินเราก็ไต่ตลอดแต่ว่าฟ้าเราจะไต่ไม่ได้" แม่ชีแย้ง "ไต่ได้นะลูก ต้องไต่ได้นะ แม้แต่แม่ยังไต่ได้ลูกก็ต้องไต่ได้" แม่ทาร้องตอบ "ไม่ใช่หรอกคุณแม่เอ๊ย คุณแม่มีอะไรจะสอนดิฉันก็สอนมาซะ ถ้าความที่จะไปไต่ฟ้านี้มันไต่ไม่ได้หรอก" แม่ชีนารี "ลูกหล่าเอาอย่างนี้ซะ ให้เจ้าเอาพุท-โธไปจนกว่าจะครบ 7 ปี เพราะว่านามชิน(บุญกุศลวาสนา) ของเจ้านี้มีเวลาอีก 7 ปี"แม่ทารับคำแนะนำจากแม่ชีนารีแต่ก็คิดถึงอายุขัยของตนว่าในอีก 7 ปีต้องตายแน่นอน ต่อมาแม่ทาจึงได้สั่งเสียเพื่อนบ้านว่า "ภายใน 7 ปีนี้ถ้าเราตายนี้เอาเชือกผูกคอไล่ลากไปเลยนะ ไม่ต้องหามมันเพราะมันไม่มีพี่น้องตายแล้วให้นำไปที่หัวนาอย่าไปเรียกหาใคร ถ้าจะฝังก็ฝังถ้าไม่ฝังก็เอาฟืนไปเผา แต่ว่าห้ามหาม (ศพ) เป็นเด็ดขาด" เหตุที่กล่าวเช่นนั้นด้วยกลัวเขาจะรังเกียจตัวเอง เพื่อนบ้านก็ร้องบอก "โอ๊ย ! ถ้าเป็นอะไรพวกข่อยจะจัดการเอาดอก" หลังจากสั่งเสียเพื่อนบ้านแล้วแม่ทาก็นึกถึงคำของแม่ชีนารีที่มาบอกทางนิมิต "ท่านมาบอกเราเช่นนี้แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ ไม่ได้ล่ะต้องเอาคำของแม่ชีนารีที่มาบอกทางนิมิต "ท่านมาบอกเราเช่นนี้แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ ไม่ได้ล่ะต้องเอาคำของแม่ชีนารีมาใช้ ท่านมาบอกเราก็ไม่ได้วิ่งทำ ไม่ได้ตากฝนทำ เราทำอยู่ที่บ้านเป็นอย่างไร? ทำไมเราจะทำไม่ได้" ดังนั้นแม่ทาจึงได้น้อมนำเอาคำบริกรรมพุท-โธ มาภาวนานอนอยู่เฉยๆ สติก็ระลึกอยู่กับ พุท-โธ นั่งก็มีสติอยู่กับ พุท-โธ ข้าวอาหารก็ยังกินไม่ได้แต่ก็มีเพียงคำว่า พุท-โธ เพียงอย่างเดียวเอาจิตจดจ่อเพียงอย่างเดียวมีสติอยู่ที่ พุท-โธ ฝึกสติจิตอยู่ในองค์บริกรรมอย่างนี้มาได้ 2 วันเพราะมั่นใจในคุณวิเศษของคำว่าพุท-โธต้องมีแน่นอน เช้าวันนั้นได้มีแม่ชีรูปหนึ่งชื่อแม่ชีใสมาจากวัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู มาเห็นสภาพที่แม่ทานอนซมคล้ายคนใกล้จะตายก็มาพูดให้กำลังใจแล้วแนะนำให้แม่ทาฝึกสติโดยเอาคำบริกรรมพุท-โธเป็นสติ ก็ยิ่งทำให้แม่ทาเกิดความเชื่อมั่นว่าคำว่า พุท-โธ นี้ต้องดีต้องวิเศษแน่นอนแม่ชีใสถึงได้แนะนำตรงกับที่ได้รับคำแนะนำทางนิมิตจากแม่ชีนารี มั่นใจในคำแนะนำเช่นนี้เพราะต้องดีแน่ๆ ท่านคงไม่แนะนำสิ่งที่ไม่ดีให้ตนแน่ พุท-โธนี้ต้องดีแท้แน่นอนอยู่ก็มีสติ อยู่กับพุท-โธ นั่งอยู่ก็ฝึกพุท-โธ ไปอย่างนี้ตลอดเพียงลำดับผู้เดียว ฝึกนานวันต่อมาแม่ทาก็คิดอยากจะดื่มน้ำ สามีคือพ่อบุญเหลือก็ได้ไปตักน้ำมาให้ดื่ม พอแม่ทาดื่มน้ำลงสู่ลำคอปรากฏว่าน้ำก็ไหลลื่นลงไปสู่กระเพาะโดยไม่กระฉอกออกมาเหมือนครั้งก่อนๆ แม่ทานึกในใจ "โอย กูกลืนน้ำลายได้แล้ว ชะตาเรายังไม่ถึงที่ตายหรือเปล่าหนอ? แต่ว่าท่านแม่ชีนารีท่านว่า 7 ปีนี้เราต้องตาย ถ้าจะตายก็ขอให้ได้รู้จักกับพุท-โธเสียก่อน" แม่ทาก็มุ่งมั่นจิตเพียงอย่างเดียวกับคำว่า พุท-โธๆๆ อยู่ตลอดเวลา โดยไม่ยอมให้ขาดสติด้วยความรักสงเคราะห์ต่อผู้เป็นภรรยาของพ่อบุญเหลือ ไม่ทอดทิ้งยามทุกข์ยามยากไม่ว่าจะไปไหนก็จะพาแม่ทาไปด้วย ครั้งหนึ่งพ่อบุญเหลือได้อุ้มแม่ทาไปนั่งบนแผ่นไม้เพื่อนั่งขับถ่ายปลดทุกข์ สมัยนั้นส้วมหลุมดังเช่นในปัจจุบันก็ยังไม่มี มีแต่ส้วมหลุมที่ขุดดินลึกลงไปแล้วนำไม้ไปวางพาดแล้วก็นั่งปลดทุกข์ลงในหลุม ในขณะนั้นแม่ทาก็ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เดินก็ยังไม่ได้ ได้แต่นั่งภาวนา พุท-โธ พ่อบุญเหลือก็อุ้มแม่ทาไปปลดทุกข์ในระหว่างรอแม่ทา พ่อบุญเหลือก็ออกไปทอดแหหาปลาจนเพลินกับการหาปลา จนลืมเวลาไปว่าภรรยาของตนนั่งปลดทุกข์อยู่ แม่ทานั่งอดทนอยู่อย่างนั้น หลังจากปลดทุกข์ขับถ่ายแล้วเพราะเดินไปไหนไม่ได้ นั่งฝึกสติอยู่กับพุท-โธ ตลอดอารมณ์ กลางแดดที่ร้อนจัดในเวลากลางวัน นั่งอยู่อย่างนั้นเป็นเวลาเกือบค่อนวัน เมื่อพ่อบุญเหลือนึกได้จึงได้รีบกลับมาอุ้มเอาภรรยากลับบ้าน ตลอดเวลาที่นั่งกลางแดดเปรี้ยงๆ แม่ทาก็มิยอมปริปากบ่นอะไรสักคำ นั่งสู้ด้วยขันตินิ่งอยู่อย่างนั้น เมื่อแม่ทาได้ฝึกสติอยู่กับ พุท-โธ อาการป่วยใจก็เริ่มดีขึ้น อาการทางกายก็ดีขึ้นตามไปด้วย พอที่จะมีเรียวแรงที่จะพยุงตัว สามารถช่วยตัวเองได้ เริ่มขยับตัวได้ ต่อมาพ่อบุญเหลือมีธุระที่จะต้องไปที่กรุงเทพ 1 คืน จึงได้ฝากให้หลานมาช่วยดูแลแทนหลังจากที่พ่อบุญเหลือกลับมาบ้านก็ได้มาเล่าให้แม่ทาฟังว่า "ข่อยไปอยู่น้น ก็ได้ฝันว่าแม่ชีมาบอกว่าเมียมึงไม่ตายหรอกนะลูกเอ๊ย" แม่ทาได้ฟังความจากสามีก็ไม่กล้าเล่าเรื่องที่แม่ชีมาหาเช่นกัน เพราะรู้ว่าเป็นแม่ชีผู้เดียวกันกับที่ได้มาแนะนำให้ฝึกสติอยู่กับพุท-โธ แม่ทาได้แต่นิ่งเฉย พ่อบุญเหลือจึงได้ถามแม่ทาว่า "เจ้าทำอะไร ทำไมเจ้าไม่ผอมเหมือนเมื่อก่อน ทำไมสีผิวดูสดใสขึ้น" แม่ทาจะเล่าถึงเหตุผลก็ไม่กล้าบอกสามีว่าแม่ชีมาบอกว่าให้เอาพุท-โธ ก็กลัวว่าสามีจะว่าเป็นประสาทกลัวว่าจะถูกตำหนิว่าเป็นพวกภูตผีวิญญาณมาหา ไม่ใช่แม่ชีมาหา เมื่อแม่ทาฝึกสติอยู่กับพุท-โธได้ 3 เดือน ก็เกิดความอยากเดินจึงบอกกับสามีว่า "พ่อไปเอาเชื่อกมาขึงกับต้นเสาให้หน่อย ข่อยไม่ให้เจ้าจับหรอกข่อยจะเดินเอง" พ่อบุญเหลือจึงได้ไปหาซื้อเชือกมาแล้วนำมาขึงรอบเอว บ้านแม่ทาก็ค่อยๆ พยุงกายเดินจับเชือกไปแต่ก็เซไปเซมา ใครผ่านมาเห็นก็ถามว่า "เอ้า ! ทำไมเจ้าเดินได้ เจ้ากินยาอะไร? ถึงได้เดินได้" แม่ทาก็ไม่กล้าบอกเขาว่ามีพุท-โธ เป็นยาดี "ไม่มียากินแล้วแต่มันจะตายแล้วแต่มันจะเป็นตายวันไหนก็ดีไม่ตายก็ดี"เมื่อแม่ทาได้ฝึกเดินอยู่ประมาณ 2 อาทิตย์ ร่างกายก็แข็งแรงมีเรี่ยวมีแรงดีขึ้น จิตใจก็ไม่ได้หวั่นไหวอะไรเหมือนดั่งว่าใจนั้นได้ถูกเปลี่ยนเป็นใจใหม่ที่หนักแน่นมั่นคงมาแทนที่ ลูกๆ ก็เริ่มโต เมื่อพอที่จะมีเรี่ยวแรงก็มาทำงานช่วยสามี ทำไร่ทำนา เลี้ยงควาย ซักผ้า เผาถ่าน ทำกับข้าว ปูผ้านอน ทำงานบ้านสารพัดอย่างชนิดที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเดินไปนาก็ท่องพุท-โธไปตลอดทาง พอหว่านข้าวก็มีสติท่องพุท-โธในใจจนเสร็จ เดินกลับบ้านก็ท่อง พุท-โธๆๆๆ ตลอด ไม่ว่าจะทำกิจการงานใดก็แล้วแต่ก็ไม่ลืมสติอยู่กับพุท-โธเป็นอารมณ์อยู่ทุกขณะจิตรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจก็อยู่กับพุท-โธ ทุกอิริยาบถจิตก็ไม่ส่งส่ายออกไป นอกจากอารมณ์พุท-โธอยู่อย่างนั้นยกเว้นเพียงแต่เวลานอนเท่านั้นที่ขาดสติอยู่กับพุท-โธ เมื่อตื่นมารู้สึกตัวสติก็อยู่กับพุท-โธ หมั่นเพียรด้วยความมีสติอยู่กับพุท-โธ ของแม่ทานี้ปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง เอาเพียงจิตเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้นกับคำว่าพุท-โธ ความรู้ใดๆ ด้านธรรมะก็ไม่รู้เพราะอ่านหนังสือไม่ได้เขียนไม่ได้ มีสติรู้อยู่เพียงอย่างเดียวขณะหายใจเข้า-พุท หายใจออก-โธ อยู่ในอารมณ์เดียวกับจิตเพียงอย่างเดียวพ่อแม่ครูบาอาจารย์เคยอบรมสั่งสอนว่า ไม่มีแรงอันใดเท่าแรงของกฎแห่งกรรมและการที่จะชดใช้กรรมที่ดีนั่นให้นั่งภาวนาชดใช้กรรม จึงจะถึงเจ้ากรรมนายเวรอุทิศให้ถึงจะง่ายจึงตั้งจิตใจอย่างแน่วแน่เอาจริงเอาจังต่อการปฏิบัติธรรมเมื่อมีสิ่งมากระทบให้คิดปลง อีกอย่างจึงน้อมเอาธรรมที่ได้รับฟังจากครูบาอาจารย์ที่เคยได้รับปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังในการกำหนดจิตจะต้อง มีเจตจำนงแน่วแน่ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการเจตจำนงคือตัวศีล การบริกรรมพุทโธเปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงจะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย กลับจะเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียรทำลายกำลังใจในคราวเจริญจิตครั้งต่อไปๆ ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน เจตจำนงต้องตั้งอยู่ไม่ลดละ เปรียบได้ดั่งบุรุษผู้หน฿งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่าคมดาบนั้นฟาดลงมา ตนจะหลดหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่จึงจะยังสมาธิให้เกิดขึ้นได้ แม้เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลาเลย จะบั่นทอนความศรัทธาของตนเองเสียเปล่า เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อยๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่ความสงบทีละน้อยๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอกก็ค่อยลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าวก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุท-โธ ก็จะขาดไปเองเพราะ คำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบและคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ (จิตมั่นคง)บริกรรมให้จิตเป็นหนึ่งพึงสังเกตว่าใครบริกรรมพุท-โธ ดูจิตเมื่อสงบแล้วให้จิตจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิม เช่นนั้นเมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีกไม่ตั้งกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอ สติคอยกำกับอยู่อย่างเงียบ(รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาใดๆที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาแห่งจิตได้เองเมื่อแม่ทาได้ฝึกปฏิบัติมาเช่นนี้จวบจนเวลาผ่านไป 1 ปี 2 ปี 3 ปีช่วงที่ย่างเข้าสู่ปีที่ 4 นี้ แม่ทาก็เริ่มที่จะได้ยินเสียงต่างๆ แต่ก็ไม่ใส่ใจ จิตจดจ่ออยู่กับพุท-โธเพียงอย่างเดียวในทุกอิริยาบถต่างๆ พอฝึกได้ 4 ปี จิตของแม่ทาก็เริ่มเป็นทิพย์จิตใจสงบส่งกระแสจิตออกไปก็จะเห็นนิมิตต่างๆ มากมายคล้ายดั่งกับเรานั่งดูจอทีวี ดูภาพยนตร์เป็นฉากๆ เข้ามาให้จิตได้รู้ แม่ทาก็แปลกใจในความอัศจรรย์ของจิต อัศจรรย์ในอำนาจของสติที่มีเป็นหนึ่ง อารมณ์เดียวอยู่กับพุท-โธ พอฝึกสติย่างเข้าสู่ปีที่ 5 จิตของแม่ทาก็ยิ่งรู้เห็นในสิ่งเร้นลับต่างๆ บ้างก็มีนิมิต (มารจิต) เข้ามาหาปรากฏเป็นรูปกายให้เห็น

ไม่มีความคิดเห็น: