ธรรมมะ ย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรม

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การกำหนดรู้ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ


สุวรรณภูมิแผ่นดินทอง หรือประเทศไทยแห่งนี้เป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ตั้งของศาสนาพุทธมายาวนาน เป็นดินแดนที่มีพระมหากษัตริย์ที่เป็นพุทธมามะกะผู้ทรงทศพิศราชธรรมเป็นพระประมุขต่อเนื่องมายาวนานและจะมีตลอดไป ความเป็นชาติไทยจึงประกอบไปด้วยชาติ คือประชาชน ศาสนาคือพุทธเป็นหลัก และพระมหากษัตริย์ผู้ซึ่งเป็นองค์อุปถัมภ์ของพุทธศาสนา องค์ประกอบทั้งสามส่วนนี้เป็นลักษณะพิเศษที่มีแห่งเดียวในโลก อันจะก่อให้เกิดความสงบ ร่มเย็นต่อประชาชนทุกคน และเป็นรากฐานต่อการตั้งมั่น การเจริญของศาสนาพุทธตลอดมา ทำให้ดินแดนแห่งนี้มีผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาพุทธบรรลุมรรคและผลอันได้แก่ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ต่อเนื่องกันมาตลอดไม่ขาดสาย โดยจำนวนคนที่บรรลุมรรคผลขั้นต้นนั้นจะเป็นโยมเสียส่วนใหญ่ ส่วนมรรคผลขั้นสูงนั้นผู้บรรลุเป็นพระสงฆ์เสียส่วนมาก อย่างไรก็ตามประเทศไทยแห่งนี้ไม่เคยขาดจากอริยะบุคคล ซึ่งถ้าดินแดนแห่งไดมีพระอริยะบุคคลอยู่ ดินแดนแห่งนั้นจะไม่ฉิบหายจากภัยสงครามอย่างแน่นอน เพราะอำนาจแห่งความร่มเย็นนั้นเอง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ก็เป็นพระอริยะเจ้าอีกองค์หนึ่งที่มีชีวิตอยู่ในดินแดนแห่งนี้ช่วงกึ่งอายุของศาสนาคือประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ หลายคนคงรู้จักท่านดี เพราะบรรดาพระป่าสายวิปัสสนาทั้งหลายที่เป็นอาจารย์สั่งสอนอยู่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนจากท่านทั้งนั้น ลักษณะการกำเนิดขึ้นของพระอาจารย์มั่นและการสั่งสอนศิษย์ทั้งหลายนั้นมีความเป็นสำนัก คือมีระบบแบบแผน จึงทำให้มีการสืบต่อของการปฏิบัติและคำสั่งสอนผ่านผู้ได้รับการอบรมมาเป็นทอดๆ ไม่เหมือนกับพระอาจารย์องค์อื่นๆที่เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็เกือบจะไม่เห็นการสืบต่อเลยถ้าพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าสำนักพระอาจารย์มั่นเป็นเหมือนพุทธภูมิย่อยถือกำเนิดมาสืบต่อการปฏิบัติที่ถูกต้องของศาสนาพุทธออกไปอีก ศิษย์สายหลวงปู่มั่นผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่รู้ดี และรู้ด้วยว่าพระอาจารย์มั่นนั้นสร้างบารมีทำความดีเพื่อปรารถนาจะมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้ามายาวนาน หลายกัปหลายกัลป์ มีผู้เกิดร่วมชาติและทำความดีร่วมกับท่านเยอะ อันได้แก่ศิษย์ของท่านทั้งหลายนั้นเอง บารมีท่านมีมากแต่ก็ยังไม่พอจะมาเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อตั้งศาสนาพุทธเอง ชาติสุดท้ายท่านมาเกิดกึ่งศาสนาพุทธที่สุวรรณภูมิแห่งนี้ ท่านได้หักตัวและดีดออกจากความปรารถนาเพื่อพุทธภูมิกล่าวคือ เลิกปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านั้นเองเพราะเห็นว่าต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่อีกนาน จึงขอปฏิบัติให้หลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ในศาสนาพุทธของสมนะโคดมในชาติสุดท้าย ซึ่งก็สำเร็จเป็นจริงตามนั้น แต่เนื่องจากปรารถนาพุทธภูมิมายาวนานมีพุทธบารมีมาก (ถึงแม้จะไม่มากพอเป็นพระพุทธเจ้า) ท่านพระอาจารย์มั่นจึงมีพุทธลักษณะบางส่วนอยู่ในองค์ท่าน เพื่อสั่งสอนอบรมศิษย์และประดิษฐานพระศาสนาให้ยาวนานออกไป เป็นคุณธรรมพิเศษ ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติสมาธิจิตจะรู้ดี ลักษณะของท่านต่างจากพระอรหันต์เจ้าบางองค์ซึ่งไม่ค่อยสั่งสอนและวางระบบมากนักซึ่งนั้นก็เป็นเพราะบารมีท่านเหล่านั้นสร้างมาอย่างนั้น ส่วนพระอาจารย์มั่นมีคุณธรรมพิเศษที่ใช้กำหนดรู้เพื่อสั่งสอนศิษย์ คนทั่วไป รวมทั้งผู้ไม่มีร่างทั้งหลายอันได้แก่ พรหม เทวดา เป็นต้น จากที่ได้ศึกษาและสดับตรับฟังมา พระอาจารย์มั่นทำสมาธิวิปัสสนาเพื่อการหลุดพ้น เพื่อการสิ้นภพสิ้นชาติ โดยเริ่มจากให้จิตเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาพความจริงของมัน ไม่มีการปรุงแต่ง เพื่อให้จิตยอมรับและเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในกาม และความหลงผิดทั้งหลาย สุดท้ายจิตก็จะสลัดสิ่งจอมปลอมทั้งหลายออกไปจนหมด แล้วบรรลุถึงแดนเกษม ประวัติการปฏิบัติธรรมของท่านเอาจริงเอาจัง ไม่ท้อถอย เอาชีวิตเข้าแลก จิตของท่านมีการรวมสงบใหญ่ๆ อยู่ ๔ ครั้ง คือการบรรลุมรรคผลทั้ง ๔ ขั้น นั้นเอง (อ่านได้จากหนังสือรำลึกวันวาน เขียนโดยหลวงตาทองคำ จารวัณโน) ครั้งสุดท้ายพระอาจารย์สำเร็จธรรมขั้นสูงสุดในศาสนาพุทธ เป็นพระอริยะเจ้าผู้สิ้นกิเลสและอาสวะทั้งปวงโดยได้คุณสมบัติพิเศษที่รองจากจตุปฏิสัมภิทาญาณ เพิ่มเข้ามาด้วยคือท่านได้ ปฏิสัมภิทานุสาสน์ หรือ จตุปฏิสัมภิทานุโลมญาณก็ว่าได้ (เป็นคุณสมบัติของพระอรหันต์ผู้ที่ได้จตุปฏิสัมภิทาญาณไม่เต็มเปี่ยม: จากหนังสือบูรพาจารย์ พิมพ์โดยมูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ) กล่าวคือ ท่านพระอาจารย์มั่นฉลาดรู้ในเทศนาวิธีและอุบายทรมานแนะนำสั่งสอนสานุศิษย์ให้เข้าใจในพระธรรมวินัย และอุบายฝึกจิตใจ ท่านพระอาจารย์เล่าว่า ท่านได้พยายามศึกษาสำเนียงวิธีเทศนาอันจะสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟัง และเกิดความรู้ขึ้นว่า วิธีการเทศนานั้นต้องประกอบด้วย ๓ ขั้นตอนคือ๑. อุเทศ คือกำหนดหัวข้อธรรมที่พึงจะยกขึ้นแสดงต่อผู้ฟังนั้นๆ โดยการทำความสงบใจหน่อยหนึ่ง ธรรมใดที่เหมาะแก่จริตนิสัยของผู้ฟังคนนั้น กลุ่มนั้น ที่มาคอยฟังอยู่ขณะนั้น ก็จะผุดขึ้นมาในใจท่าน และท่านก็จะเอาหัวข้อธรรมบาลีที่ผุดขึ้นมานั้นเป็นหัวข้อสอน๒. นิเทศ คือเนื้อความเพื่ออธิบายความของอุเทศนั้นให้กว้างขวางออกไปตามสมควร เมื่อเนื้อความปรากฏขึ้นแจ่มแจ้งแก่ใจอย่างไรในขณะที่จิตสงบนั้น ท่านจะต้องแสดงออกไปอย่างนั้น๓. ปฏินิเทศ คือการย่อใจความเพื่อให้ผู้ฟังจำได้ จะได้นำไปไตร่ตรองในภายหลังวิธีการเทศนาของท่านพระอาจารย์มั่นเป็นไปตามหลักดังกล่าวนี้ หัวข้อธรรมบาลีอุเทศที่ท่านยกมาแสดงบางประการ ท่านไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก่อน แต่มาปรากฏขึ้นขณะที่ท่านทำจิตให้สงบในเวลาที่ท่านแสดงธรรมนั้นเอง จึงสมกับคุณสมบัติพิเศษของปฏิสัมภิทานุสาสน์โดยแท้ คือเป็นการแสดงธรรมด้วยปฏิภาณญาณจริงๆ จึงถูกกับจริตนิสัยของผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังเกิดความสว่างแจ่มใสเบิกบานใจและเกิดฉันทะในการที่จะประพฤติปฏิบัติศีลธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เป็นผลให้ผู้ปฏิบัติที่ได้รับการสั่งสอนจากท่านสำเร็จมรรคผลจริงๆ นอกจากนี้แล้วพระอาจารย์มั่นยังอาศัยอำนาจจิตอันสะอาดและสงบ กำหนดรู้สิ่งต่างๆ โดยวิธีการ ๓ วิธี ที่เรียกว่า ไตรวิธญาณ ดังนี้


ไตรวิธญาณ

ท่านพระอาจารย์มั่นสามารถกำหนดจิตรู้สิ่งต่างๆ เช่น จิต นิสัย วาสนาของคนอื่นๆ หรือเทวดา ด้วยวิธีการกำหนดจิตอย่างไดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่างนี้คือ๑. เอกวิธัญญา กำหนดจิตพิจารณากายนี้อันปรากฏชัด จิตวางอุคคหนิมิตรวมลงถึงฐีติจิต คือ จิตดวงเดิมแล้วพักจิตอยู่พอประมาณ แล้วให้จิตถอยออกมาพักเพียงอุปจาระก็ทราบได้ว่า เหตุนั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้๒. ทุวิธัญญา ปฏิบัติเหมือนข้อ ๑ พอจิตถอยออกมาถึงขั้นอุปจาระจะปรากฏนิมิตภาพเหตุการณ์นั้นๆ ขึ้น ต้องวางนิมิตนั้นเข้าจิตอีกครั้งหนึ่ง ครั้นถอยออกมาอีกก็จะทราบเหตุการณ์นั้นๆได้๓. ติวิธัญญา ปฏิบัติเหมือนข้อ ๑ พอจิตถอยออกมาถึงขั้นอุปจาระจะปรากฏนิมิตภาพเหตุการณ์นั้นขึ้น ต้องวิตกถามเสียก่อนแล้วจึงวางนิมิตนั้น แล้วเข้าจิตอีก ถอยออกมาถึงขั้นอุปจาระ ก็จะทราบเหตุการณ์นั้นได้ ความรู้ด้วยวิธี ๓ ประการนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า จิตที่ยังเป็นฐีติขณะเป็นเอกัคคตามีอารมณ์เดียวที่มีแต่สติกับอุเบกขาจึงไม่สามารถทำให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆได้ ต้องถอยจิตออกมาอยู่เพียงขั้นอุปจาระจึงจะมีกำลังรู้ได้ แต่หากถอยออกมามากเกินไปถึงขั้นขณิกะหรือจิตธรรมดาก็ทราบเหตุการณ์ไม่ได้เหมือนกัน เพราะกำลังจิตอ่อนเกินไปท่านพระอาจารย์มั่นอาศัยไตรวิธญาณจากอำนาจจิตอันสะอาดและสงบ เป็นกำลังในการหยั่งรู้ หยั่งเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต และกำหนดรู้จิตใจ นิสัย วาสนาของศิษยานุศิษย์ พร้อมทั้งอุบายวิธีทรมานสั่งสอนศิษยานุศิษย์ด้วยปรีชาญาณหยั่งรู้โดย ๓ วิธีนี้ จึงเกิดผลสำเร็จในการสั่งสอนและเผยแผ่หลักการปฏิบัติศาสนาพุทธที่ถูกต้อง ที่มุ่งเน้นความสงบ ความสุข ความหลุดพ้น สมควรจะเป็นเนติของผู้จะเป็นครูอาจารย์ของผู้อื่นต่อไป

อานิสงส์การสร้างกุฎีวิหาร


ในกาลครั้งหนึ่งนั้น สมเด็จพระบรมศาสดา เสด็จประทับอยู่ ณ ลัฎฐิวันสวนตาลหนุ่มพระองค์เที่ยวโปรดเวไนยสัตว์ให้ได้มรรค 4 ผล 4 ในครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ได้ครองราชสมบัติที่กรุงราชคฤห์ก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้วก่อสร้างกุฎีวิหารในพระราชอุทยานเวฬุวันสวนป่าไม้ไผ่ให้เป็นวัดแรกในพุทธศาสนาถวายแก่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าพร้อมกับภิกษุสงฆ์ 500 รูป พร้อมกับถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน สมเด็จพระบรมศาสดา พร้อมกับภิกษุสงฆ์เส็รจภัตตากิจเรียบร้อยแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทูลถามว่า "ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสาธุชนทั้งหลายมีใจศรัทธา ปสันนาการ เลื่อมใสการก่อสร้างกุฎีวิหารถวายเป็นสังฆทานนั้น จะได้ผลานิสงส์เป็นประการใด ขอให้พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้ข้าพุทธเจ้าพร้อมบริษัททั้งหลายให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า"องค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า "ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภาร บุคคลผู้ใดมีจิตศรัทธาเลื่อมใสพระรัตนตรัยแล้วก่อสร้างกุฎีวิหารศาลาคูหาน้อยใหญ่ถวายเป็นทานจะประกอบด้วยผลอานิสงส์มากเป็นเอนกประการนับได้ถึง 40 กัลป์"พระองค์ทรงนำอดีตนิทานมาเทศนาต่อไปว่า ในอดีตกาลล่วงมาแล้ว พระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติบังเกิดในโลกยังศูนย์เหล่าอยู่สิ้นกาลช้านาน ในระหว่างนั้นพระปัจเจกโพธิเจ้าทั้งหลาย ก็ได้บังเกิดตรัสรู้ในโลกนี้ เมื่อพระปัจเจกโพธิเจ้าก็อาศัยในป่าหิมพานต์ อยู่มาวันหนึ่งมีความปรารถนาเพื่อจะมาใกล้หมู่บ้านอันเป็นว่านแคว้นกาสิกราชมาอาศัยอยู่ในรายป่าแห่งหนึ่งแถบใกล้บ้านนั้น มีนายช้างคนหนึ่งอยู่ในหมู่บ้านนั้น ก็ไปป่ากับลูกชายของตน เพื่อจะตัดไม้มาขายกินเลี้ยงชีพตามเคย ก็แลเห็นพระปัจเจกโพธิเจ้านั่งอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ พ่อลูกสองคนก็เข้าไปใกล้น้อมกายถวายนมัสการแล้ว ทูลถามว่าข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าจะไปไหน จึงมาอยู่ในสถานที่นี้ พระปัจเจกโพธิ จึงตอบว่า "ดูกรอาวุโส บัดนี้จวนจะเข้าพรรษา" นายช่างก็อาราธนาให้อยู่จำพรรษาในที่นี้พระปัจเจกโพธิทรงรับด้วยการดุษณียภาพสองคนพ่อลูกก็ดีใจ จึงขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าเข้าไปสู่เรือน ถวายบิณฑบาตทานแก่พระปัจเจกโพธิสองคนพ่อลูกก็เที่ยวตัดไม้แก่นมาทำสร้างกุฎีวิหารที่ริมสระโบกขรณีใหญ่และทำที่จงกรมเสร็จแล้ว จึงได้ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าจงอยู่ให้เป็นสุขเถิดพระเจ้าข้า ครั้นพระปัจเจกโพธิได้รับนิมนต์แล้ว สองคนพ่อลูกตั้งปฎิธานความปรารถนาขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากทุกข์ยากไร้เจ็ญใจ และขอให้ข้าพเจ้าทั้งสองนี้ได้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพผู้ประเสริฐองค์หนึ่งเถิด พระปัจเจกโพธิก็รับอนุโมทนาซึ่งบุญนายช่างสองคนพ่อลูกอยู่จนสิ้นอายุขัยแล้วก็ทำกาลกริยาตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีวิมานทองเป็นที่รองรับและเทพอัปสรแวดล้อมเป็นบริวารเสวยทิพย์สมบัติอยู่ในสวรรค์สิ้นกาลช้านานจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว ก็ไปบังเกิดเป็นราชบุตรของพระเจ้าสุโรธิบรมกษัตริย์ในเมืองมิถิลามหานคร ทรงพระนามว่ามหาปนาทกุมารๆเจริญวัยขึ้นได้เสวยราชสมบัติเป็นพระยาจักรพรรดิราช ด้วยอานิสงส์ที่ได้สร้างกุฎีวิหารถวายเป็นทานแก่พระปัจเจกโพธิ ครั้นตายจากชาติเป็นพระยามหาปนาทแล้ว ก็เวียนว่ายตายเกิดในมนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติ แล้วก็มาเกิดเป็นเศรษฐีมีทรัพย์ 80 โกฎิ อยู่ในภัททิยนครชื่อว่า "ภัททชิ"ก็ได้ปราสาท 3 หลังอยู่ใน 3 ฤดู ครั้นเจริญวัยได้บวชในศาสนาสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในศาสนาของตถาคตดังนี้แล ส่วนเทพบุตรองค์พ่อนั้น ยังเสวยทิพย์สมบัติอยุ่ในวรรค์ช้านานจนถึงศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย์ลงมาตรัสสัพพัญญู เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในมนุษย์โลก ได้จุติลงมาปฏิสนธิในครรภ์พระอัครมเหสีสมเด็จพระเจ้ากรุงเกตุมวดี ทรงพระนามว่าสังขกุมาร ครั้นเจริญวัยแล้วก็ขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสังขจักรบรมกษัตริย์ มีทวีปน้อยใหญ่เป็นบริวาร พระองค์จึงได้สละราชสมบัติบ้านเมืองออกไปบรรพชา ในสำนักพระศรีอริยเมตไตรย์กับทั้งบริวาร 1 โกฎิ ก็ได้ถึงอรหันต์ได้เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ทรงพระนามอโสกเถระ ก็ด้วยอานิสงส์ได้สร้างกุฎีให้เป็นทานนั้นแล อันเป็นบุญให้ถึงความสุข 3 ประการ คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ พระผู้เป็นเจ้าจงอยู่ให้เป็นสุขเถิดพระเจ้าข้า

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กำลังสมาธิในการบรรลุธรรม


ในศาสนาพุทธ จำแนกพระอริยะ เป็น 2 แบบ 4 ประเภท คือพระเสขะ ผู้ที่ยังต้องศึกษาต่อ มีพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอเสขะ ผู้ที่ไม่ต้องศึกษาแล้ว มีพระอรหันต์

กำลังสมาธิในการบรรลุธรรมนั้น

* พระโสดาบันและพระสกทาคามี ใช้เพียงอุปจารสมาธิเป็นขั้นต่ำ
* ส่วนพระอนาคามีและพระอรหันต์ ใช้ปฐมฌานเป็นขั้นต่ำ

นี่เป็นสาเหตุที่พระอริยะจำนวนมากมายไม่มีฤทธิ์ เพราะผู้ได้ฤทธิ์อภิญญา จะต้องเป็นผู้คล่องในฌานสี่หรือสูงกว่าในขั้นอรูปฌาน พระอริยะเมื่อเห็นปรมัตถธรรมแล้ว ก็ไม่ค่อยนำพาต่อฤทธิ์เท่าใดนัก เพราะไม่ใช่ทาง นอกจากจะมีจริตฝักใฝ่เพื่อใช้ฤทธิ์ในประโยชน์ต่อไป

แม้จะเห็นว่าการบรรลุธรรมนั้นใช้สมาธิเพียงอุปจารสมาธิในอริยบุคคลขั้นต้น แต่อุปจารสมาธิก็ใช้ว่าจะเจริญได้ง่าย ยิ่งในยุคนี้.. ที่ผู้คนจิตใจฟุ้งซ่านไปด้วยความวิตกกังวล หรือลุ่มหลงไปกับความศิวิไลซ์ ทำให้ผู้ถึงธรรม นับวันจะน้อยลงไปทุกขณะ ทั้งที่ความรู้เรื่องศาสนาพุทธ มีให้ศึกษามากมาย เทียบกับสมัยก่อนแล้ว ไม่มีตำรา เพียงตั้งใจฟังพระพุทธเจ้าครั้งเดียว ก็สามารถเข้าสู่กระแสธรรมได้ แต่ตอนนี้ ทั้งตำรามากมาย เครื่องรางของขลังช่วยเหลือมีไม่จำกัด แต่ก็ดูเหมือนศาสนาพุทธจะกลายไปเป็นเพียงความรู้เสริมสมอง กลายเป็นพระเครื่องเฟื่องฟู หรือเป็นการนับถือพระนับถือเจ้าเพื่อวิงวอนร้องขอ ไม่ต่างไปจากศาสนาฮินดูเท่าไหร่

ธรรมะ ไม่ได้มีในผู้รู้แค่ตำรา บางคนเขียนหนังสือธรรมะวางขายไม่ใช่น้อย แต่ไม่สามารถหยุดใจให้ปล่อยวางได้ ทุกข์ไปกับราคะ-โทสะ-โมหะเสียจนเกินงาม เพราะธรรมะแต่มีเฉพาะนักปฏิบัติเท่านั้น ใครไม่รู้ตำราเลย แต่มีศีลมีธรรม หมั่นทำใจให้ว่าง แต่ไม่เขลาเบาปัญญา นั่นแล เป็นพุทธแท้

ก า ร เ จ ริ ญ ส ติ - ส ม า ธิ หรือภาวนา-สมาธิ หรือที่เรียกในสมัยก่อนว่า “สมาธิ-ภาวนา” ซึ่งนิยมมาเรียกกันว่า “วิปัสสนา” กลายเป็นวิปัสสนากรรมฐานที่มีหลายสำนักปฏิบัติ เปิดเป็นกรรมฐานรูปแบบต่างๆ ให้เลือกปฏิบัติได้ตามจริต ใครชอบอานาปานสติผสมการเคลื่อนไหว ก็ไปสายพองยุบได้ หรือไม่ชอบหลับตา ก็ไปสายแนวหลวงพ่อเทียนที่เน้นการเคลื่อนไหว โดยมีการคิดค้นท่าการเคลื่อนไหวที่ลงตัวเอาไว้ให้ปฏิบัติแล้ว

สมาธิ หมายถึง จิตใจแน่วแน่เป็นหนึ่ง ไม่แตกซ่าน จดจ่ออยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
สติสัมปชัญญะ ทำงานร่วมกัน นิยมพูดด้วยคำสั้นๆ ว่าสติ ซึ่งก็หมายถึงสติสัมปชัญญะนั่นเอง สติ – หมายถึงการระลึกรู้ , สัมปชัญญะ – หมายถึงรู้ตัวทั่วพร้อม ...การเจริญสติ จึงหมายถึงทำความระลึกได้และรู้ตัวได้ ไม่หลงลืมตัวว่าทำอะไรอยู่หรือหลงตามความคิดไปไกลตัว การเจริญสติหรือการภาวนานั้น เป็นการกำหนดรู้รูปและนามด้วยการระลึกและรู้ตัวให้ได้โดยตลอด เสมือนเป็นการแต่งตั้งตัวรู้(สติ) เฝ้าตามรู้ตัวเอง รักษาไม่ให้ตกลงไปเป็นทาสอารมณ์กิเลส ที่เข้ามาจู่โจมตามความเคยชิน ที่เราทำมาอย่างคุ้นเคย จนกลายเป็นอนุสัยนอนเนื่อง ที่พร้อมปะทุขึ้นมาได้ทันที หากขาดสติ

การทำกรรมฐานแนววิปัสสนา มีทั้งแบบสมถวิปัสสนากรรมฐาน และแบบวิปัสสนากรรมฐาน

สมถวิปัสสนากรรมฐาน ..ที่จริงสมถกรรมฐานมีมานานก่อนศาสนาพุทธ หลังจากพุทธถือกำเนิด และใช้คำว่าวิปัสสนาแทนความหมายว่ากำหนดรู้เห็นตามจริง นำมาใช้ในสมถกรรมฐาน เท่ากับเป็นการต่อยอดกรรมฐานจากภูมิสมถะยกขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา คือกำหนดเห็นตามจริงหลังจากที่มีกำลังสมาธิสูงมากพอดูแล้ว ต่างจากวิปัสสนาล้วน ที่กำหนดรู้รูปนามไปด้วยสติ จนสมาธิจากขณิกะมีกำลังตามขึ้นมาเอง เข้าสู่อุปจารสมาธิหรือขั้นฌานได้ด้วยสติ ยิ่งการภาวนามีกำลังมากขึ้นเท่าใด สมาธิแก่กล้าขึ้นเท่าใด กำลังในการประหารสังโยชน์อาสวะกิเลสก็มากขึ้นตามนั้น

วิปัสสนากรรมฐาน ..หรือการมีสติกำหนดรู้เห็นธรรมชาติตามจริง เป็นการกำหนดจิตให้อยู่กับกายและจิตเอง ไม่ฟุ้งซ่านไปกับความคิด (จิตที่ปรุงกิเลสตัณหาอุปาทาน) เพื่อให้จิตนี้เห็นรูป-นามตามธรรมชาติของมัน ว่ามีการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เป็นทุกข์ ทั้งรูปและนามไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ได้เป็นของเรา เมื่อจิตกำหนดได้ต่อเนื่องมากขึ้น สติไม่วอกแวก สมาธิมีการจดจ่อต่อเนื่อง จากขณิกะสมาธิ ก็เข้าสู่อุปจารสมาธิ หรือเข้าสู่ฌานสมาธิได้ แต่จะถึงฌานสี่หรือไม่แล้วแต่บุคคล เพราะการเข้าออกฌานสี่สามสองหนึ่ง ไม่ยากเกินไปสำหรับผู้ที่คล่อง พูดง่ายๆ วิปัสสนานั้น หากกำหนดดีๆ ต่อเนื่องไม่ขาดสาย สมาธิก็จะมีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับสมถะ-วิปัสสนา สมาธิมีกำลังมาก่อน ส่วนวิปัสสนานั้น สติมาก่อน เรียกว่าเมื่ออริยมรรคสมังคีพร้อมที่จะประหารกิเลสนั้น ตัวอริยสมาธิก็จะมีกำลังเสมออริยมรรคตัวอื่นๆ ในภายหลัง เพราะขณิกสมาธินั้น (สงบชั่วคราวแล้วถอนขึ้นมา) เป็นสมาธิทีละขณะ ไม่ต่อเนื่อง ฟุ้งซ่านไปกับเรื่องราวต่างๆ จึงขาดกำลัง แต่หากกำหนดสติให้ดีจนต่อเนื่อง สมาธิย่อมมีกำลังสูงขึ้นจนไปถึงอุปจารสมาธิหรือฌาน เพื่อนำมาใช้พิจารณาธรรมได้ ใช้ในการประหารกิเลสได้ วิปัสสนาจึงใช้ขณิกสมาธิให้เป็นประโยชน์ ด้วยการกำหนดรู้รูปนามอย่างต่อเนื่องจนมีกำลังขึ้นมาในภายหลัง

บุคคลที่มีสมาธิดี จึงเป็นผู้มีกำลังดี ขาดแต่ปัญญาอีกเพียงน้อย ส่วนบุคคลที่มีปัญญา หรือเจริญสติได้ดี จึงเป็นผู้ที่ต้องการกำลังสมาธิอีก เมื่อกำหนดตามรู้กายและจิตดีๆ มีสมาธิในการจดจ่อไม่ฟุ้งไป สมาธิก็จะรวมมีกำลังในภายหลังเพื่อนำมาใช้งานได้ (สมาธิทุกประเภทพึงทราบว่าเป็นเครื่องหนุนปัญญาได้ตามกำลังของตน คือสมาธิอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ก็หนุนปัญญาอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดเป็นชั้นๆไป แล้วแต่ผู้มีปัญญาจะนำออกใช้ – หลวงตามหาบัว)

การบรรลุธรรม หรือตัดขาดจากสันโยชน์สิบนั้น จะต้องหลุดจากกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน อันเป็นม่านมายาปิดปังความจริง ซึ่งจะต้องเจริญสติต่อเนื่องจนขาดจากการปรุงแต่งทางความคิดสิ้นเชิง (ความคิดดับ-ที่จริงคือขันธ์ดับ) เรียกมรรคสมังคีคืออริยมรรคมาประชุมเสมอกันในการประหารกิเลส หรือจะเรียกว่ามีอินทรีย์แก่กล้าคือมีเบญจพลเสมอกันในการประหารกิเลส หรือจะเรียกว่ามีศีล-สมาธิ-ปัญญาสมบูรณ์จึงประหารกิเลส หรือที่เรียกว่าเจริญสติปัฏฐานสี่ครบรอบจนทำอาสวะให้สิ้นไป ก็ได้


ผู้บรรลุธรรม (อรหันต์) มีกี่ประเภท
เรียบเรียงจากหนังสือ พุทธธรรม - ท่านประยุทธ์ ปยุตโต
หน้า 296 – 297

พระอรหันต์ผู้แจ้งในธรรมนั้น มี 2 แบบ 6 ประเภท
2 แบบคือ 1. เป็นพระปัญญาวิมุต 2. เป็นพระอุภโตภาควิมุต

1. พระปัญญาวิมุต คือผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ท่านผู้มุ่งบำเพ็ญแต่วิปัสสนา อาศัยสมาธิเท่าที่จำเป็น พอเป็นบาทฐานของวิปัสสนาให้บรรลุอาสวักขยญาณเท่านั้น ไม่มีความสามารถพิเศษ ไม่ได้โลกียอภิญญา 5 จำแนกได้ดังนี้
ก. พระสุขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิระดับฌานต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค
ข. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานสี่อย่างน้อยขั้นหนึ่ง ก่อนเจริญวิปัสสนาให้บรรลุอรหัตตผล
ค. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 คือทรงปัญญาแตกฉาน 4 ประการ
1) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชาแจ้งเจนในความหมาย
2) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งเจนในหลัก
3) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ ปรีชาแจ้งเจนในภาษา
4) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ แจ้งเจนในความคิดทันการ

2. พระอุภโตภาควิมุต แปลว่าผู้พ้นโดยส่วนทั้งสอง คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติและหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค เป็นการหลุดพ้นสองวาระ คือด้วยวิกขัมภะ ข่มไว้ด้วยฌาน และด้วยสมุจเฉท ตัดกิเลสด้วยปัญญา จำแนกได้ดังนี้

ก. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้สมถะถึงอรูปฌานอย่างน้อยขั้นหนึ่ง แต่ไม่ได้โลกียวิชชา โลกียอภิญญา

ข. พระเตวิชชะ เป็นอรหันต์ผู้ได้วิชชาสาม
1.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณอันเป็นเหตุระลึกได้ซึ่งขันธ์เคยอาศัย คือระลึกชาติได้
2.จุตูปปาตญาณ ญาณหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตามกรรม หรือเทียบได้กับทิพพจักขุ
3.อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปในอาสวะทั้งหลาย คือความรู้ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป

ค. พระฉฬภิญญะ เป็นอรหันต์ผู้ได้อภิญญาหก
1.อิทธิวิธี ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
2.ทิพพโสต ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์
3.เจโตปริยญาณ ญาณที่กำหนดรู้ความคิดนึกในใจของคนและสัตว์ได้
4.ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
5.ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้เกิดตาทิพย์
6.อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป

ง. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ เป็นพระอรหันต์ประเภทพระอุภโตภาควิมุตและบรรลุปฏิสัมภิทา 4

รวมพระอรหันต์ 6 ประเภท ดังนี้
1. พระสุขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิระดับฌานต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค
2. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานสี่อย่างน้อยขั้นหนึ่ง ก่อนเจริญวิปัสสนาให้บรรลุอรหัตตผล
3. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้สมถะถึงอรูปฌานอย่างน้อยขั้นหนึ่ง แต่ไม่ได้โลกียวิชชา โลกียอภิญญา
4. พระเตวิชชะ เป็นอรหันต์ผู้ได้วิชชาสาม
5. พระฉฬภิญญะ เป็นอรหันต์ผู้ได้อภิญญาหก
6. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4

พระอรหันต์ที่เป็นทั้ง พระฉฬภิญญะและปฏิสัมภิทัปปัตตะ นับว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนครอบคลุมทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันเข้าพรรษา

จากที่เกิดวันเข้าพรรษา เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษา เหตุเพราะสมัยก่อนฝนตกชุก การเดินทางสัญจรไปมาก็ไม่สะดวก อีกทั้งไปเหยียบต้นข้าวของชาวบ้าน ในสมัยที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว และได้ให้พระภิกษุสงฆ์ออกไปตามเขตต่าง ๆ เพื่อประกาศพระศาสนา จนมีผู้ขออุปสมบทมากขึ้น จึงทำให้มีพระภิกษุสงฆ์ออกไปเผยแพร่พระศาสนากันมากขึ้น แม้ในฤดูฝนก็มิได้หยุดพัก การเดินทางก็ไม่สะดวก ทั้งยังเหยียบข้าวกล้าให้เกิดความเสียหาย ทำให้สัตว์เล็กน้อยตาย ประชาชนจึงพากันติเตียนว่า ” ไฉนเล่า พระสมณศากยบุตรจึงเที่ยวไปมาอยู่ทุกฤดูกาล เหยียบข้าวกล้าและติณชาติให้ได้รับความเสียหาย ทำให้สัตว์เล็กน้อยตาย พวกเดียรถีย์และปริพพาชกเสียอีกยังพากันหยุดพักในฤดูฝน ถึงนกยังรู้จักทำรังที่กำบังฝนของตน”

พระพุทธองค์ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงกลางเดือน ๑๑ ห้ามมิให้เที่ยวสัญจรไปมา

วันเข้าพรรษาที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้มีอยู่ ๒ วัน คือ๑.ปุริมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงวันเพ็ญ กลางเดือน ๑๑๒.ปัจฉิมมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒

ภิกษุเข้าพรรษาแล้ว หากมีกิจธุระจำเป็นอันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ แต่จะต้องกลับมา ยังสถานที่เดิมภายใน ๗ วัน พรรษาไม่ขาด ที่เรียกว่า “สัตตาหกรณียะ” เหตุที่ทรงอนุญาตให้ไปได้ด้วยสัตตาหกรณียะนั้นมี ๔ อย่างดังต่อไปนี้๑. สหธรรมิกหรือมารดาบิดาเจ็บไข้ รู้เข้าไปเพื่อรักษาพยาบาล๒. สหธรรมิกกระสันจะสึก รู้เข้าไปเพื่อห้ามปราม๓. มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุดลงในเวลานั้น ไปเพื่อหาเครื่องทัพพสัมภาะมาปฏิสังขรณ์๔. ทายกต้องการบำเพ็ญบุญกุศลส่งคนมานิมนต์ ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของเขาได้แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ที่เป็นกิจจลักษณะอนุโลมเข้าในข้อนี้ด้วย

ในเวลาจำพรรษาเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นจะอยู่ต่อไปไม่ได้ และไปเสียจากที่นั้น พรรษาขาดแต่ท่านไม่ปรับอาบัติ (ไม่เป็นอาบัติ) มีดังนี้ คือ๑. ถูกสัตว์ร้าย โจร หรือปีศาจเบียดเบียน๒. เสนาสนะถูกไฟไหม้ หรือน้ำท่วม๓. ภัยเช่นนั้นเกิดขึ้นแก่โคจรคาม ลำบากด้วยบิณฑบาต ในข้อนี้ชาวบ้านอพยพจะตามเขาไปก็ควร๔. ขัดสนด้วยอาหาร โดยปกติไม่ได้อาหารหรือเภสัชอันสบาย ไม่ได้อุปัฏฐากอันสมควร (ข้อนี้หากพอทนได้ก็ควรอยู่ต่อไป)๕ .มีหญิงมาเกลี้ยกล่อม หรือมีญาติมารบกวนล่อด้วยทรัพย์๖. สงฆ์ในอาวาสอื่นจวนจะแตกกันหรือแตกกันแล้ว ไปเพื่อจะห้ามหรือเพื่อสมานสามัคคีได้อยู่ (ในข้อนี้ ถ้ากลับมาทัน ควรไปด้วยสัตตาหกรณียะ)

พระพุทธองค์ทรงอนุญาตการอยู่จำพรรษาในสถานที่บางแห่ง แก่ภิกษุบางรูปผู้มีความประสงค์ จะอยู่จำพรรษาในสถานที่ต่าง ๆ กัน สถานที่เหล่านั้น คือ๑. ในคอกสัตว์ (อยู่ในสถานที่ของคนเลี้ยงโค)๒. เมื่อคอกสัตว์ย้ายไป ทรอนุญาตให้ย้ายตามไปได้๓. ในหมู่เกวียน๔. ในเรือ

พระพุทธองค์ทรงห้ามมิให้อยู่จำพรรษาในสถานที่อันไม่สมควร สถานที่เหล่านั้นคือ๑. ในโพรงไม้๒. บนกิ่งหรือคาคบไม้๓. ในที่กลางแจ้ง๔. ในที่ไม่มีเสนาสนะ คือไม่มีที่นอนที่นั่ง๕. ในโลงผี๖. ในกลด๗. ในตุ่ม

ข้อห้ามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้อีกอย่างหนึ่ง คือ๑. ห้ามมิให้ตั้งกติกาอันไม่สมควร เช่น การมิให้มีการบวชกันภายในพรรษา๒. ห้ามรับปากว่าจะอยู่พรรษาในที่ใดแล้ว ไม่จำพรรษาในที่นั้น

อนึ่ง วันเข้าพรรษานี้ ถือกันว่าเป็นกรณียพิเศษสำหรับภิกษุสงฆ์ เมื่อใกล้วันเข้าพรรษาควรปัดกวาด เสนาสนะสำหรับจะอยู่จำพรรษาให้ดี ในวันเข้าพรรษา พึงประชุมกันในโรงอุโบสถไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาต่อกันและกัน หลังจากนั้นก็ประกอบพิธีอธิษฐานพรรษา ภิกษุควรอธิษฐานใจของตนเองคือตั้งใจเอาไว้ว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า

“อิมสฺมึ อาวาเส อิมัง เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ แปลว่า ข้าพเจ้าจะอยู่จำพรรษาในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน”

หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้ว ก็นำดอกไม้ธูปเทียนไปนมัสการบูชาปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูปเทียนไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์และพระเถระผู้ที่ตนเองเคารพนับถือ


อานิสงส์แห่งการจำพรรษา
เมื่อพระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนได้ปวารณาแล้ว ย่อมจะได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ อย่าง ตลอด ๑ เดือนนับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป คือ๑. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์กัณฑ์๒. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ๓. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้๔. เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของพวกเธอ

และยังได้โอกาสเพื่อที่จะกราลกฐิน และได้รับอานิสงส์พรรษาทั้ง ๕ ขึ้นนั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ในฤดูหนาว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ อีกด้วย

ในวันเข้าพรรษานี้ตามประวัติ ชาวไทยเราได้ประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันเข้าพรรษา มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งมีทั้ง พิธีหลวง และ พิธีราษฎร์ กิจกรรมที่กระทำก็มีการเตรียมเสนาสนะให้อยู่ในสภาพที่ดี สำหรับจะได้จำพรรษาอยู่ตลอด 3 เดือน จัดทำ เทียนจำนำพรรษา เพื่อใช้จุดบูชาพระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมา พระปริยัติธรรม ตลอดทั้ง 3 เดือน ถวายธูป เทียน ชวาลา น้ำมันตามไส้ประทีปแก่พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในพระอาราม

สำหรับเทียนจำนำพรรษาจะมีการ แห่เทียน ไปยังพระอารามทั้งทางบกและทางน้ำตามแต่หนทางที่ไปจะอำนวยให้ เพื่อนำเทียนเข้าไปตั้งในพระอุโบสถหรือพระวิหาร แล้วก็จะจุดเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย

สำหรับการปฏิบัติอื่น ๆ ก็จะมีการถวาย ผ้าอาบน้ำฝน การอธิษฐานตนว่าจะประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของศีลห้า ศีลแปด ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามระยะเวลาที่กำหนดโดยเคร่งครัด ตามกำลังศรัทธา และขีดความสามารถของตน นับว่าวันเข้าพรรษาเป็นโอกาสอันดีที่พุทธศาสนิกชน จะได้ประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของพระพุทธศาสนาได้เข้มข้นยิ่งขึ้นไปอีกระดับ หนึ่ง

วันอาสาฬหบูชา


















วัน อาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้เป็นวันแรกที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครบองค์พระรัตนตรัย

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดง พระปฐมเทศนา หรือการแสดง พระธรรมครั้งแรก หลังจากที่ตรัสรู้ได้ 2 เดือน เป็นวันที่เริ่มประดิษฐานพระพุทธศาสนาเนื่องจากมีองค์ประกอบของ พระรัตนตรัยครบถ้วนคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15ค่ำ) เดือน 8 ดวงจันทร์ เสวยมาฆฤกษ์

การ แสดงพระปฐมเทศนา ได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี พระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบ พระโกณฑัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม มีความเห็นแจ้งชัดว่า

ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ

สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา

เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมจึงขออุปสมบทเป็น พระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ประทานอุปสมบทให้ ด้วยวิธีที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยกล่าวคำว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด พระโกณฑัญญะจึงเป็น พระอริยสงฆ์องค์แรก

คำว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไปมีความโดยย่อว่า

ที่ สุด 2 อย่างที่บรรพชิตไม่ควรประพฤติปฏิบัติคือ การประกอบตนให้อยู่ในความสุขด้วยกาม ซึ่งเป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่สุดอีกทางหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้เกิดความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

การ ดำเนินตามทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาและญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และนิพพาน ทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรค มีองค์แปด คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ดำริห์ชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ อริยสัจสี่ คือความจริงอันประเสริฐที่พระองค์ค้นพบ มี 4 ประการได้แก่

ความ ทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความได้พบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น ว่าโดยย่อ อุปาทานในขันธ์ 5 เป็นทุกข์

สาเหตุ แห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาความทะยานอยาก อันทำให้เกิดอีกความกำหนัด เพลิดเพลินในอารมณ์ คือกามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ภวตัณหา ความทะยานในภพ วิภวตัณหา ความทะยานอยากในความไม่มีภพ

ความดับทุกข์ โดยการดับตัณหาด้วยอริยมรรค คือ วิราคะ สละ ดับ ปล่อยไป ไม่พัวพัน

หน ทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตมั่นชอบ

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า

นี้เป็นทุกข์ อันควรกำหนดรู้ และพระองค์ ได้กำหนดรู้แล้ว

นี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ ได้ละแล้ว

นี้เป็นความดับทุกข์ อันควรทำให้แจ้ง และพระองค์ ได้ทำให้แจ้งแล้ว

นี้เป็นหนทางดับทุกข์ อันควรเจริญ และพระองค์ ได้เจริญแล้ว

สรุป ได้ว่า ปัญญาอันรู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงในอริยสัจ 4 มีรอบ 3 มีอาการ 12 คือ ขั้นแรก รู้ว่า อริยสัจแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร ขั้นที่สองรู้ว่าควรจะทำอย่างไรในอริยสัจแต่ละประการนั้น และขั้นที่ 3 พระองค์ได้ กระทำตามนั้นสำเร็จเสร็จแล้ว

พระองค์ ทรงเน้นว่า จากการที่พระองค์ทรงค้นพบ คือตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการนี้ การที่พระองค์ทรงกล้าปฏิญญา ว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้รู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริง ในอริยสัจ 4 มี รอบ 3 มีอาการ 12 อย่างหมดจดดีแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ได้มีการบันลือต่อ ๆ กันไปให้ทราบทั่วกันว่า พระธรรมอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้

วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ 3 ประการคือ

1. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย

2. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้น

3. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

ประวัติภูริทัตตะวนาราม

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

มณฑา ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์


“มณฑา” หรือ “มณฑารพ” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Talauma candollei Bl.” อยู่ในวงศ์ Magnoliaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับพวกจำปา จำปี และยี่หุบ เป็นไม้พุ่มสูงราว 3-10 เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดใหญ่ รูปรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา มักเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ หรือส่วนยอดของลำต้น มีสีเหลืองนวล มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 3 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกค่อนข้างหนา แข็ง ดอกมีกลิ่นหอมและส่งกลิ่นไปไกล โดยเฉพาะในตอนเช้าตรู่ จะส่งกลิ่นหอมแรงมาก และออกดอกตลอดปี ส่วนผลรูปรี ออกเป็นกลุ่ม และเนื่องจากมณฑามีดอกสวยและกลิ่นหอมจึงนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ดอกไม้ทิพย์แห่งเมืองสวรรค์ที่ชื่อ มณฑา หรือ มณฑารพ นั้น ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จปรินิพพาน ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า

“ดูกรอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปราย ลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยอด เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ดังนี้ฯ” ในเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ทุกหนแห่งในเมืองกุสินาราเต็มไปด้วยดอกมณฑารพ “...สมัยนั้น เมืองกุสินาราเดียรดาษไปด้วยดอกมณฑารพโดยถ่องแถวประมาณแค่เข่า จนตลอดที่ต่อแห่งเรือน บ่อของโสโครกและกองหยากเยื่อ ครั้งนั้นพวกเทวดาและพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมมาลัยและของหอม ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์...”


หลังจากพระพุทธองค์เสด็จสวรรคตแล้ว พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งอยู่ที่เมืองปาวา ได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่เมืองกุสินาราหลายวันแล้ว จึงตั้งใจจะไปเฝ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร 500 รูป ขณะที่กำลังเดินทางไปเมืองกุสินาราอยู่นั้น ได้หยุดพักหลบแสงแดดอยู่ใต้ร่มไม้ข้างทาง ได้เห็นนักบวชนอกศาสนาคนหนึ่งซึ่งมาจากเมืองกุสินารา ถือดอกมณฑารพเดินสวนทางมา พระมหากัสสปะซึ่งเวลานั้น ยังไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็นึกสังหรณ์ใจ เพราะดอกมณฑารพเป็นดอกไม้ทิพย์ ที่ไม่มีในโลกมนุษย์ และจะปรากฏเฉพาะตอนที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า เช่น ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน วันจาตุรงคสันนิบาต วันที่ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นต้น ซึ่งเทพเทวดาจะบันดาลให้ดอกมณฑารพตกลงมาจากเทวโลก พระมหากัสสปะจึงได้สอบถามข่าวคราวของพระพุทธองค์จากนักบวชผู้นั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพานมา 7 วันแล้ว และดอกมณฑารพนี้ก็ได้มาจากสถานที่ที่พระองค์ปรินิพพานนั่นเอง เมื่อได้ยิน ดังนั้นพระมหากัสสปะจึงรีบเร่งนำพระภิกษุสงฆ์ออกเดินทางไปยังเมืองกุสินารา นอกจากนี้ มณฑายังเป็นดอกไม้ของนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดีที่มีนามว่า กิริณีเทวี








วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันอัฏฐมีบูชา



คือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า


เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๘ วัน คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว ๘วัน เป็นที่น่าเสียดายว่า วันอัฏฐมีบูชานี้ ในเมืองไทยเรามักลืมเลือนกันไปแล้ว จะมีเพียงบางวัดเท่านั้น ที่จัดให้มีการประกอบกุศลพิธีในวันนี้

ประวัติ


พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด ๗ วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๘ คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวาย พระเพลิง พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๔ คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ ๕๐๐ รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี




ครั้งนั้นพระมหากัสสปะเถระและหมู่ภิกษุเดินทางจากเมืองปาวา หมายจะเข้าเฝ้าพระศาสดา ระหว่างทาง ได้พบกับพราหมณ์คนหนึ่ง ถือดอกมณฑารพสวนทางมา พระมหากัสสปะได้เห็นดอกมณฑารพก็ทราบว่า มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น ดอกไม้นี้มีเพียงในทิพย์โลก ไม่มีในเมืองมนุษย์ การที่มีดอกมณฑารพอยู่ แสดงว่าจะต้องมีอะไร เกิดขึ้นกับพระศาสดา พระมหากัสสปะถามพราหมณ์นั้นว่า ได้ข่าวอะไรเกี่ยวกับพระศาสดาบ้างหรือไม่ พราหมณ์นั้นตอบว่า พระสมณโคดมได้ปรินิพพานไป ล่วงเจ็ดวัน แล้ว "พระศาสดาปรินิพพานแล้ว" คำนี้เสียดแทงใจของพระภิกษุปุถุชนยิ่งนัก พระภิกษุศิษย์ของพระมหากัสสปะบางรูป ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็กลิ้งเกลือกไปบนพื้น บ้างก็คร่ำครวญร่ำไห้ ว่า "พระศาสดาปรินิพพานเสียเร็วนัก" ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมเกิดธรรมสังเวชว่า "แม้พระศาสดา ผู้เป็นดวงตาของโลก ยังต้องปรินิพพาน สังขารธรรมไม่เที่ยงแท้เสียจริงหนอ"


แต่ในหมู่ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้น เสียงของสุภัททะ วุฑฒบรรพชิตก็ดังขึ้น "ท่านทั้งหลายอย่าไปเสียใจเลย พระสมณโคดมนิพพานไปซะได้ก็ดีแล้ว จะได้ไม่มีคนมาคอยจ้ำจี้จ้ำไช ว่าสิ่งนี้สมควรกับเรา สิ่งนี้ไม่สมควรกับเรา" คำพูดของหลวงตาสุภัททะ เป็นที่สังเวชต่อ พระมหากัสสปะยิ่งนัก ท่านคิดว่า "พระผู้มีพระภาคยังนิพพานไปได้ไม่นาน ก็มีภิกษุบาปชนกล่าวจาบจ้วงพระศาสดา จาบจ้วงพระธรรมวินัยเช่นนี้ ถ้าเวลาผ่านไป ก็คงมีภิกษุบาปชนเช่นนี้ กล่าวจาบจวงพระธรรมวินัยเกิดขึ้นเป็นอันมาก" แต่ท่านก็ยั้งความคิดเช่นนี้ไว้ก่อน เพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะกระทำสิ่งใดๆ นอกจากจะต้องจัดการ ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสียก่อน


เมื่อพระมหากัสสปะ และภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางมาถึงสถานที่ถวายพระเพลิงมกุฏพันธนเจดีย์แล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณ รอบเชิง ตะกอน ๓ รอบ พระมหากัสสปะเปิดผ้าทางพระบาทแล้ว ถวายบังคมพระบาททั้งสองด้วยเศียรเกล้า โดยท่านกำหนดว่าตรงนี้เป็นพระบาทแล้ว เข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากฌานแล้วอธิษฐานว่า "ขอพระยุคลบาท ของพระองค์ที่มีลักษณะเป็นจักรอันประกอบด้วยซี่พันซี่ ขอจงชำแรกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ พร้อมทั้งสำลี ไม้จันทน์ ออกเป็นช่อง ประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าของข้าพระองค์ด้วยเถิด" เมื่ออธิษฐานเสร็จ พระยุคลบาทก็แหวกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ออกมา พระเถระจับยุคลบาทไว้มั่น และน้อมนมัสการเหนือเศียรเกล้าของตน มหาชนต่างเห็นความอัศจรรย์นั้น ก็ส่งเสียงแสดงความอัศจรรย์ใจ เมื่อพระเถระและภิกษุ ๕๐๐ รูป ถวายบังคมแล้ว ฝ่าพระยุคลบาทก็เข้าประดิษฐานในที่เดิม ครั้นแล้วเปลวเพลิงก็ลุกโพลงท่วมพระสรีระของพระศาสดา ด้วยอำนาจของเทวดา ในการเผาไหม้นี้ ไม่มีควันหรือเขม่าใดๆฟุ้งขึ้นเลย เมื่อเพลิงใกล้จะดับ ก็มีท่อน้ำไหลหลั่งลงมาจากอากาศ และมีน้ำพุ่งขึ้นจากกองไม้สาละ ดับไฟที่ยังเหลืออยู่นั้น เหล่าเจ้ามัลละก็ปะพรมพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยของ หอม ๔ ชนิด รอบๆบริเวณ ก็โปรยข้าวตอกเป็นต้น แล้วจัดกองกำลังอารักขา จัดทำสัตติบัญชร (ซี่กรงทำด้วยหอก) เพื่อป้องกันภัย แล้วให้ขึงเพดานผ้าไว้เบื้องบน ห้อยพวง ของหอม พวงมาลัย พวงแก้ว ให้ล้อมม่านและเสื่อลำแพนไว้ทั้งสองข้าง ตั้งแต่มกุฏพันธนเจดีย์ จนถึงศาลาด้านล่าง ให้ติดเพดานไว้เบื้องบน ตลอดทางติดธง ๕ สีโดยรอบ ให้ตั้งต้นกล้วย และหม้อน้ำ พร้อมกับตามประทีปมีด้ามไว้ตามถนนทุกสาย พวกเจ้ามัลละนำพระธาตุทั้งหลายวางลงในรางทองแล้ว อัญเชิญไว้บนคอช้าง นำพระธาตุเข้าพระนครประดิษฐานไว้บนบัลลังก์ที่ทำด้วยรัตนะ ๗ อย่าง กั้นเศวตร ฉัตรไว้เบื้องบน แล้วจัดกองกำลังอารักขาอย่างนี้คือ "จัดเหล่าทหารถือหอกล้อมพระธาตุไว้ จากนั้นจัดเหล่าช้างเรียงลำดับกระพองต่อกันล้อมไว้ พ้นจากเหล่าช้างก็เป็น เหล่า ม้าเรียงลำดับคอต่อกัน จากนั้นเป็นเหล่ารถ เหล่าราบรอบนอกสุดเป็นทหารธนูล้อมอยู่" พวกเจ้ามัลละจะจัดฉลองพระบรมธาตุตคลอด ๗ วัน ต้องการความมั่นใจว่า ๗ วัน นี้แม้จะมีการละเล่นก็เป็นการละเล่นที่ไม่ประมาท

หลังจากนั้น เมื่อข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พระสรีระกลายเป็นพระบรมสารีริกธาตุแล้ว เหล่ากษัตริยน์ในนครต่างๆ เมื่อทราบข่าวก็ปรารถนาจะได้พระบรมธาตุไปบูชา จึงส่งสาสน์ ส่งฑูตมาขอพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคของเรา" "พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น กษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราจึงมีส่วนที่จะได้พระบรมธาตุบ้าง" เหล่ามัลละกษัตริย์ก็ไม่ยอมยกให้ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในเมืองของเรา" ดังนั้น กษัตริย์ในพระนครต่างๆ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู จอมกษัตริย์แคว้นมคธ และกษัตริย์เหล่าอื่นๆ จึงยกกองทัพมาด้วยหวังว่า จะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อยกกองทัพ มาถึงหน้าประตูเมือง ทำท่าจะเกิดศึกสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุ ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ใหญ่คนหนึ่ง คือ โทณพราหมณ์ หวั่นเกรงว่าจะเกิดสงครามใหญ่ จึงขึ้นไปยืน บนป้อมประตูเมือง ประกาศว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทรงสรรเสริญขันติ สรรเสริญสามัคคีธรรม การที่เราจะมาประหัตประหารเพราะแย่งชิง พระบรมธาตุ ของพระองค์ผู้ประเสริฐ ย่อมไม่สมควร ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงยินดีในการที่จะแบ่งกันไปเป็น ๘ ส่วน และนำไปบูชายังบ้านเมืองของท่านทั้งหลายเถิด เพราะ ผู้ศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีมาก"

ในพระไตรปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตรได้กล่าวถึงเหตุการณ์ขณะที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ว่า หมู่คณะเหล่านั้นตอบว่า ข้าแต่พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นขอท่าน นั่นแหละจงแบ่ง พระสรีระพระผู้มีพระภาคออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เรียบร้อย เถิด โทณ พราหมณ์ รับคำของ หมู่คณะเหล่านั้นแล้ว แบ่งพระสรีระพระผู้มีพระภาค ออกเป็น ๘ ส่วนเท่ากันเรียบร้อย จึงกล่าว กะหมู่คณะเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ขอพวกท่าน จงให้ตุมพะนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้า จักกระทำพระสถูป และกระทำการฉลองตุมพะบ้าง ทูตเหล่านั้นได้ให้ตุมพะแก่โทณพราหมณ์ ฯ

พวกเจ้าโมริยะเมืองปิปผลิวัน ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพาน ในเมืองกุสินารา จึงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาค เป็นกษัตริย์ แม้ เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระ พระผู้มีพระภาคบ้าง จักได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละ เมือง กุสินาราตอบว่า ส่วนพระสรีระพระผู้มี พระภาคไม่มี เราได้ แบ่งกันเสียแล้ว พวกท่านจงนำพระอังคารไปแต่ที่นี่เถิด พวกทูตนั้น นำ พระ อังคารไปจากที่นั้นแล้ว ฯ

ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ได้กระทำ พระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในพระนครราชคฤห์ พวก กษัตริย์ ลิจฉวีเมืองเวสาลี ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มี พระภาคในเมืองเวสาลี พวกกษัตริย์ ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ก็ได้กระทำพระสถูป และการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกบิลพัสดุ์ พวกกษัตริย์ถูลีเมือง อัลกัปปะ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมือง อัลกัปปะ พวกกษัตริย์ โกลิยะเมืองรามคาม ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง พระสรีระพระผู้มี พระภาคในเมืองรามคาม พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ ก็ได้ กระทำพระสถูป และการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวฏฐทีปกะ พวก เจ้ามัลละเมืองปาวา ก็ได้กระทำพระสถูปและ การฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในเมืองปาวา พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา ก็ได้กระทำพระสถูป และการ ฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ ก็ได้กระทำสถูปและ การฉลอง ตุมพะ พวกกษัตริย์โมริยะ เมืองปิปผลิวัน ก็ได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระอังคารในเมือง ปิปผลิวัน ฯ พระสถูปบรรจุพระสรีระมีแปดแห่ง เป็นเก้าแห่งทั้งสถูปบรรจุตุมพะ เป็นสิบแห่ง ทั้งพระสถูปบรรจุพระอังคาร ด้วยประการฉะนี้ การแจกพระธาตุและการก่อ พระสถูปเช่นนี้ เป็นแบบอย่างมาแล้ว ฯ

พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ แปดทะนาน เจ็ดทะนาน บูชากันอยู่ในชมพูทวีป ส่วนพระสรีระอีกทะนาน หนึ่งของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษที่ ประเสริฐ อันสูงสุด พวก นาคราชบูชากันอยู่ในรามคาม พระเขี้ยวองค์หนึ่งเทวดา ชาวไตรทิพย์บูชาแล้ว ส่วนอีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ใน คันธารบุรี อีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ใน แคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ อีก องค์หนึ่ง พระยานาคบูชากันอยู่ ฯ ด้วยพระเดชแห่งพระสรีระพระพุทธเจ้า นั้นแหละ แผ่นดินนี้ ชื่อว่า ทรงไว้ซึ่งแก้วประดับแล้วด้วยนักพรตผู้ ประเสริฐที่สุด พระสรีระของพระพุทธเจ้า ผู้มีจักษุนี้ ชื่อว่าอันเขาผู้สักการะๆ สักการะดีแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์ใด อันจอมเทพจอมนาคและจอมนระบูชาแล้ว อัน จอมมนุษย์ผู้ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกัน ขอท่านทั้งหลาย จงประนม มือ ถวายบังคมพระสรีระนั้นๆ ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นพระพุทธเจ้า ทั้งหลายหาได้ยากโดยร้อยแห่งกัป ฯ พระทนต์ ๔๐ องค์ บริบูรณ์ พระเกศา และ พระโลมาทั้งหมด พวกเทวดานำไปองค์ละองค์ๆ โดยนำต่อๆ กันไปในจักรวาล ดังนี้แล ฯ( พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ข้อที่ ๑๕๙-๑๖๒)

การบำเพ็ญกุศลเนื่องในพิธีวันอัฏฐมีบูชาการบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันอัฏฐมีบูชานี้ มีไม่กี่แห่งที่จัด เพราะในเมืองไทยมักไม่เป็นที่นิยม แม้สมัยก่อนอาจจะมีงานฉลองในพิธีวันอัฏฐมีบูชาบ้าง แต่เดี๋ยวนี้ก็เลิกราไปมากแล้ว คงมีไม่กี่วัด เฉพาะในกรุงเทพ ที่ยังจัดพิธีเฉลิมฉลองในวันนี้อยู่ เช่นวัดราชาธิวาส ส่วนการบำเพ็ญกุศลในวันนี้ ก็เหมือนกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และมีการเวียนเทียนในตอนค่ำ บางวัดในบางจังหวัด ยังมีการนิยมบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันอัฎฐมีบูชานี้อยู่บ้าง บางแห่งถึงกับจัดเป็นงานใหญ่ มีการจำลองเหตุการณ์วันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลด้วย เช่น วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์

วัดเกาะวาลุการาม จ.ลำปาง


วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชา



ความหมายของวันวิสาขบูชา
คำว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น "วิสาขบูชา" จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

การกำหนดวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนดวันวิสาขบูชาไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ความสำคัญของวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่



1. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา" เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส


2. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้

ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย

ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา

3. วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น

การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา

การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา

2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป

3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ กิจกรรมในวันวิสาขบูชากิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่

1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร

2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา

3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล

4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา

6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ

8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ หลักธรรมที่สำคัญที่ควรนำมาปฏิบัติ ในวันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่

1. ความกตัญญู คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

2. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา ได้แก่

ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพลาดจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่

ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ

3. ความไม่ประมาท คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิต

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บทสวด อาฏานาฏิยะปะริตตัง

บทนำ

อาฏานาฏิยะปะริตตังอัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ ปะริสานัญจะ ตัสสันนะมะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสสี มะหาวีโรปะริตตันตัมภะณะนะ เห ฯ
-----------------------------------------------------------------------

อาฏานาฏิยะปะริตตังวิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิส
สะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ
นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระ
เสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ
วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง
ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง เย จาปิ นิพพุตาโลเก
ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะ
สาระทา หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ

นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส สะระณัง
กะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร โกณฑัญโญ ชะนะ
ปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ สุมาโน สุมาโน ธีโร
เรวะโต ระติวัฑฒะโน โสภีโต ถุณะสัมปันโน อะโนมะ
ทัสสี ชะนุตตะโม ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ
สาระถี ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ อัตถะทัสสี
การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
ติสโส จะ วะทะตัง วะโร ปุนโน จะ วะระโท พุทโธ
วิปัสสี จะ อะนูปะโม สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู
สุขะทายะโก กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญ
ชะโห กัสสะโป สิริสัมปันโน โคระโม สักยะปุงคะโว ฯ

เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อัเนกะสะตะโกฏะโย
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต
ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง สีหะนาทัง นะทันเตเต
ปะริสาสุ วิสาระทา พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะ
ฏิวัตติยัง อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
ทวัตติงสะ ลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา พยา
มัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา
สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา มะหัปปะภา
มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา
สัพเพสานัง สุขาวะหา ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา
เลณา จะ ปาณินัง คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ
หิเตสิโน สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรา
ยะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา
มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน
ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา สะทา สุเขนะ รักขันตุ
พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต
สัพพะภะเยนะ จะ สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตา
ปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ ฯ

เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ เตปิ
ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯปุรัตถิมัสมิง
ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อันุรักขันตุ
อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ
เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ
สุเขนะ จะ ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มิหิทธิกา
เตหิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
อุตตะรัสมิง ทิสา ภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะปุริมะทิสัง
ธะตะรัฏโฐ ทิกขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข
กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา
ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรเยนะ สุเขนะ จะ
อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ
ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ฯนัตถิ เม
สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรังเอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม
สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯยังกิญจิ ระตะนัง โลเก
วิชชะติ วิวิธัง ปุถุระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุเต ฯ

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสถี ภะวันตุเต ฯ

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ

สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรังหิตัง เทวะมะนุสสานัง
พุทธะ เตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัตวา ธัมมะ ระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนังธัมมะเตเชนะ
โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา สังฆะระตะนัง
โอสะถัง อุตตะมังวะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา
สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะนิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณสุขัง พะลัง ฯ

ธรรมมะหลวงปู่จันทา ถาวโร



พระเปรต


สมัยหนึ่ง ไปวิเวกกับพระอาจารย์บุญพิน และพระจ่อย ไปอยู่ที่ถ้ำจำปา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานีถ้ำจำปาอยู่บนภูพาน ในถ้ำนั้นมีพระพุทธรูปทำด้วยไม้ และหินอยู่มาก โยมที่บ้านกะลึมบอกว่า มีผีเฝ้ารักษาไว้ แล้วโยมก็พาไปทำที่พักให้อยู่หน้าถ้ำพอค่ำลง ก็ทำความเพียร เดินจงกรมจนถึง ๓ ทุ่ม จากนั้น ก็ไหว้พระ สวดมนต์แล้วอุทิศส่วนบุญ เสร็จแล้วก็เข้าที่ นั่งภาวนา กำหนดพุทโธ ธัมโม สังโฆ ไม่นานจิตก็รวม พอจิตสงบ เกิดแสงสว่างจ้า ไม่นานเห็นเทพบุตรตนหนึ่งมาบอกว่า“ท่านอาจารย์หันปลายเท้าเข้าหน้าถ้ำ นั้นเป็นทางไปพระนิพพานนะ”ถามเขากลับไปว่า “ทางไปพระนิพพานคืออะไร ?”เขาก็ว่า “พระพุทธรูปนั่นแหละ ผู้เป็น นายโก ผู้นำโลกคือหมู่สัตว์เข้าพระนิพพานได้ ทีนี้ท่านหันเท้าเข้าไปอย่างนั้นมันผิดแล้ว”“โอ๋...โยมเขาทำให้อย่างนั้น ต้องขออภัยด้วย พรุ่งนี้จะให้เขาทำให้ใหม่”เสร็จแล้วเขาก็ลากลับไป จากนั้นไม่นาน ก็มีเปรตพระ ๓ ตนเข้ามาหา เป็นคนโบราณรูปร่างสูงใหญ่ มีเครายาวถึงหน้าอก เข้ามานั่งใกล้ ๆ ลูบขาข้างซ้าย แล้วพูดว่า“ท่าน ๆ ผมกับท่านใครจะแก่พรรษากว่ากัน ?”ก็ตอบเขาไปว่า “หลวงพ่อนั่นแหละ แก่กว่า”“ก็คงจะจริงอย่างท่านว่านั่นแหละ พรรษาของผมนั้นแก่กว่าท่าน แต่ว่าคุณธรรมของท่านนั้น แก่กว่าผมนะ”“แก่กว่าเพราะเหตุใด ?”“แก่เพราะท่านเจริญธรรม เดินจงกรม ยืนภาวนา นั่งสมาธิ อดนอนผ่อนอาหาร นี่มันแก่อย่างนี้ เพราะการเจริญธรรมถูกต้อง”จากนั้นก็เลยถามเขาต่อไปอีกว่า “พวกท่านเป็นพระ บวชในศาสนาพุทธอันบริสุทธิ์แล้ว สมควรที่จะเจริญสมณธรรม อย่างต่ำก็ไปสวรรค์ ๖ ชั้น อย่างกลางก็พรหมโลก (รูปพรหม ๑๖ ชั้น) อย่างสูงก็อรูปพรหม ๔ ชั้น และอย่างถึงที่สุด ก็วิมุตติหลุดพ้นไปพระนิพพาน ข้ามโลกสงสารไปได้ เพราะมีกิจอันเดียว แต่เหตุใดท่านจึงมาเป็นเปรตค้างอยู่ที่นี่”“ท่านเอ๊ย...พวกข้าพเจ้าเกิดมาพบปะศาสนาในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา (เป็นเจ้าเมืองเวียงจันทร์เรืองอำนาจและสร้างวัดต่าง ๆ มากมาย) เมื่อบวชมาแล้ว อุปัชฌาย์อาจารย์ก็ไม่แนะนำพร่ำสอนให้เดินจงกรม ยืนภาวนา นั่งสมาธิ อดนอน ผ่อนอาหาร พิจารณาธาตุขันธ์ เหมือนอย่างพวกท่านในขณะนี้”“บวชเป็นพระตั้ง ๑๐๐ กว่าพรรษา ก็ไม่ได้ภาวนาอะไร อยู่สนุกสนาน ฉันเช้า ฉันเพล แล้วก็ทำกิจการงานต่าง ๆ ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงม้า เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เหมือนอย่างฆราวาสญาติโยมเขา”“บวชมาแล้วก็ล่วงเกินสิกขาบทวินัยไตรสิกขาน้อยใหญ่เสียสิ้น ศีลวัตร ศีล ๒๒๗ ก็ล่วงเกิน จะเหลือก็แต่ปาราชิก ๔ ถึงเหลือก็เศร้าหมอง ล่วงเกินพระวินัยด้วยการขุดดิน ฟันไม้ จับจ่ายเงินทอง กินข้าวแลงแกงร้อน (ฉันอาหารยามวิกาล) นั่งนอนเสื่อสาดยัดด้วยนุ่นและสำลี (ต้องอาบัติปาจิตตีย์) กินลาบดิบ ลาบวัว ลาบควาย พอญาติโยมเขาฆ่าวัวความยอยู่ในบ้าน ก็สั่งเอาเนื้อสันใหญ่ ๆ ตับ ไต เอามาลาบก้อยกินกันสนุกสนาน กินกับเหล้ากับยา สนุกสนาน”นั่นแหละ ขุดดินฟันไม้ จับจ่ายเงินทอง ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กินข้าวแลงแกงร้อนก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์นะนั่นแหละ “พอถึงช่วงเดือน ๑๒ เขาลงจับปลากัน ก็ให้เณรไปขอปลาและกุ้งเป็น ๆ มาลาบกินกันสนุกสนาน บางทีก็เข้าป่าหากระต่ายและอีเห็นมาหมกมาคั่ว (ทำอาหาร) กินกันสบาย”“ทีนี้ฤดูทำนา เขาก็มานิมนต์ไปช่วยเขาดำนา แล้วก็กินเหล้ากินยา ลาบวัวลาบควาย สนุกสนานคุยสาว (จีบผู้หญิง) นะท่าน ถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็ไปเก็บเกี่ยวกับเขา กินเหล้ากินยา เล่นสาว (พูดเกี้ยวผู้หญิง) สนุกสนาน เวลานวดข้าว เขาก็มานิมนต์ไปนวดกับเขา เวลาเอาข้าวขึ้นยุ้งขึ้นฉาง เขาก็มานิมนต์ไปสวดมนต์ข้าวนะ แหม..กินเหล้ากินยาวันยังค่ำ ท่านเอ๊ย...สนุกสนาน ได้กินลาบไก่ ต้มไก่ สนุกสนาน”“วันพระก็ตีกลองให้ผู้สาว (หญิงสาว) มาดายหญ้าในบริเวณวัด แล้วก็เล่นสาวสนุกสนาน งานบุญพระเวสสันดร มีการละเล่นต่าง ๆ ก็เล่นสาวสนุกสนาน จับโน่นจับนี่ เมื่อมีโยมตายในหมู่บ้าน เขานิมนต์ไปสวดกุสสลา มาติกาในงานศพ มีการละเล่นในงานนั้น ก็หยิบหยอกกับผู้สาว จับก้นจับขาจับของดี ถูกบ้างไม่ถูกบ้าง นั่นแหละ ทำอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ”“ทีนี้มาถึงเดือน ๕ เมษายน ขึ้นปีใหม่ อุปัชฌาย์อาจารย์ก็บอกว่า เอ้า...พระเราเป็นนาคนะ ฤดูนี้เราเป็นนาค เล่นน้ำได้ ไม่เป็นบาปเป็นกรรม นั่นแหละ มันก็สนุกสนาน เล่นน้ำปล้ำผู้สาว จับอกจับก้น จับของลับกันสนั่นหวั่นไหว แต่อาจารย์ไม่ให้เสพนะ ถึงอย่างนั้นมันก็เกิดความกำหนัดยินดีในกาม นั่นแหละกระทำกันอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ เสร็จแล้วก็มีการขอขมาลาโทษกัน ทำพิธีสู่ข้างเล่าขวัญ (พิธีขอขมา) อันนี้ต้องอาบัติทุกกฎนะ”“นั่นแหละ ความไม่ดีทั้งหลายที่พวกข้าพเจ้าทำขึ้นจึงได้ส่งผลให้มาเกิดเป็นเปรตตกค้างอยู่ที่นี่”นอกจากเปรตพระ ๓ ตนนี้แล้ว ก็ยังมีเปรตแม่ขาวนางชี (แม่ชี) ตกค้างอยู่ที่นั้นอีกมากพอถามว่า เมื่อไหร่จะพ้นกรรม เขาก็บอกว่าไม่รู้ ถามว่าทำอย่างไรจึงจะพ้นกรรมได้ เขาก็ไม่ทราบ จึงได้กำหนดจิตถามพระธรรมว่า“เปรต ๓ ตนนี้ กับแม่ชีนั้น เคยเป็นญาติของเราบ้างไหม ?”“โอ๋...เป็นมาหลายภพหลายชาติแล้ว แต่มาภพนี้ชาตินี้ เขาทำกรรมไม่ดี จึงมาเกิดเป็นเปรต นั่นแหละ จงช่วยเหลือเขาเสีย ถ้าเราไม่ช่วยแล้ว ก็ไม่มีใครช่วยเขาหรอก”จากนั้น จึงพูดกับเปรตเหล่านั้นว่า “พระพุทธรูปที่อยู่ในถ้ำนั้น อย่างเพิ่งหึงหวงห่วงอาลัยนะ เมื่อมีพระเณรหรือญาติโยมมาเอา ก็ให้เขาไปเถิด เราจะได้พ้นจากบาปกรรมได้ เอ้า...เตรียมรับพระไตรสรณคมน์และศีล ๕ จะช่วยให้พ้นจากสภาพเปรตไปเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก และเมื่อข้าพเจ้าเดินจงกรมเสร็จแล้ว ก็มารับส่วนบุญนะ”เจริญสมณธรรมอยู่ที่นั่นได้ ๒ - ๓ เดือน ก็มีแม่ชีคนหนึ่งมาบอกลาว่า“ท่านอาจารย์ ดิฉันพ้นจากบาปกรรมชั่วช้าลามกแล้ว จะได้ไปเกิดที่เมืองมนุษย์อีก”“ไปดีเถิด จงภาวนา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ไปนะ ไปที่ อ.บ้านผือ หรือที่ จ.อุดรธานี โน่นแหละดี เพราะจะมีพระกรรมฐานผ่านมามาก”ทีนี้พอล่วงมาถึงเดือน ๖ ก็ได้บอกพวกเปรตทั้งหลายว่า ปีนี้จะกลับไปจำพรรษากับหลวงปู่บัว สิริปุณโณ ที่วัดป่าบ้านหนองแซง ปีหน้า ถ้าบุญพาวาสนาส่ง จะกลับมาโปรดอีกนะ แต่แล้วก็อย่าได้ประมาท ขอให้พากันเดินจงกรม บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เอาบุญ ยืนภาวนา บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เอาบุญ ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฝึกจิต อบรมจิต สอนจิต ทรมานจิต ให้มันเป็นไปในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้จิตอยู่กับนักปราชญ์ คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ นั่นแหละ จะเป็นจิตเกษมสำราญ พ้นจากกำเนิดเป็นเปรต ไปเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก โดยเร็วพลัน ช่วยตัวเองนะ อัตตาหิ อัตตะโนนาโถ (ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน) พึ่งคนอื่นชื่นใจเป็นบางครั้ง ไม่เหมือนดั่งพึ่งตนผลทวี ตนจะเป็นคนดี หนีทุกข์โทษภัย ในวัฏฏสงสาร มีพระนิพพานเป็นที่ไปเบื้องหน้า ก็เพราะตนทำดี สะสมบุญดีให้เกิดมีขึ้น เพราะตนพึ่งตน อันนี้ข้อสำคัญมั่นหมายนั่นแหละ ต่อแต่นั้น ก็ไปจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่บัว พอออกพรรษาแล้วก็กลับมาที่เก่าอีก ไปแล้วรู้สึกว่าเป็นเบา ๆ นะ พวกเปรตทั้งหลายนั้นหายไปหมดแล้ว เมื่อภาวนาจิตสงบแล้ว มีพวกเทวดาทั้งหลายมาขอรับพระไตรสรณคมน์และศีล ๕ เสร็จแล้วเทศน์ให้ฟัง แล้วก็ถามเขาว่า“พวกเปรตพระ ๓ ตน กับแม่ชีทั้งหลาย หายไปไหนกันหมด”เขาก็ตอบว่า “ท่านมาโปรดเขา เมื่อปีกลายโน้น เขาก็ได้เจริญสมณธรรมตามอย่างที่ท่านสอนนั้น แล้วก็รักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ จึงได้ไปเกิดที่เมืองมนุษย์กันหมดแล้วละท่าน”นั่นแหละ เรื่องการไปวิเวกตามสถานที่ต่าง ๆ ก็ได้สงเคราะห์ฝูงเปรตทั้งหลาย และผีสางคางแดงทุกอย่างนี่แหละการไปเจริญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ นั้น ก็ได้ธรรมะเกิดขึ้นสอนใจ เขาเป็นอย่างไรตกทุกข์ได้ยาก เป็นเปรตเป็นผีค้างโลกโลกีย์อย่างนั้น ก็เพราะทำบาปหยาบช้าลามก ลืมตนคบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต ๆ พาไปหาผลคบคนชั่วพาตัวยากจน คบใครก็เป็นอย่างนั้น ทีนี้ก็น้อมมาเป็นธรรมะสอนเรา ถ้าเราเป็นผู้ประมาทแล้ว ต่อไปก็จะไม่แคล้วคลาดจากสมบัติ อย่างที่เขาได้นะ นั่นแหละ ข้อสำคัญมั่นหมายที่มา หนังสือธรรมมะพเนจร

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หลวงปู่สาย เขมธมฺโม


๏ ปฏิปทาตามแบบอย่างครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น


ธรรมะที่หลวงปู่นำมาเทศน์โปรดศรัทธาญาติโยมนั้น เกิดจากธรรมที่ผุดขึ้นมาจากการฝึกฝนอบรมปฏิบัติทั้งสิ้น มิใช่ไปหาอ่านจากตำรามาเล่าสู่กันฟัง มีลักษณะเป็นคำกลอน มีทั้งสำนวนไทยอีสานและสำนวนไทยกลาง มีความคล้องจองและมองเห็นธรรมะอย่างแจ่มชัดแบบง่ายๆ ให้สาธุชนได้รู้จิตของตนเอง เพื่อจะได้บังคับกายและวาจาให้ทำดี มีความสงบสุขร่มเย็น ดังคำกลอนที่ว่า “หมากัดหมาไม่เหมือนหมากัดคน หมากัดคนไม่เหมือนคนกัดคน คนกัดคนหมาไม่สนใจด้วย หมาก็ไม่ช่วยเพราะไม่ใช่เรื่องของหมา” นอกจากนี้ ท่านยังมีธรรมะสุภาษิตที่เทศนาบรรยายออกมาอย่างคล่องปาก แม้ท่านจะไม่เคยเรียนการแต่งกลอนมาจากที่ใด แต่ท่านสามารถเทศน์สอนคนได้คล่องมาก เท่าที่คณะศิษยานุศิษย์รวบรวมเอาไว้สามารถพิมพ์เป็นหนังสือได้เป็นเล่ม สิ่งหนึ่งที่ท่านยึดมั่นและยกขึ้นมาสอนลูกศิษย์ให้ระลึกถึงคำสอนของพระศาสดา คือประโยคที่ว่า “ใครจะเป็นผู้วิเศษเหนือพระพุทธเจ้า จะมีใครเล่าอยู่เหนือโลกทั้งสาม เหนือพระศาสดาจารย์ไปอีก ไม่มีในโลกนี้หรือโลกไหนไม่มีแล้ว เหนือแก้วพุทธะหาไม่มีเลย” นอกจากนี้หลวงปู่สายเคยให้คติธรรมนำไปขบคิดในการดำเนินชีวิตว่า “ของจริง ไม่เหมือนของปลอมฉันใด ทองจริงก็ย่อมไม่เหมือนทองปลอมฉันนั้น” หลวงปู่ท่านเป็นผู้มีเมตตาธรรมสูงมาก แม้แต่การกราบเรียนถามปัญหาธรรมทางโทรศัพท์ผ่านพระอุปัฏฐาก หลวงปู่ก็เมตตาตอบให้ นับตั้งแต่หลวงปู่สายมาอยู่พำนักจำพรรษาที่ภูน้อย (ภูพนัง) แห่งนี้ จวบจนกระทั่งสร้างขึ้นเป็น “วัดป่าพรหมวิหาร” ในทุกวันนี้ หลวงปู่ยังไม่เคยได้ย้ายไปจำพรรษาที่ใดอีกเลย ปัจจุบัน หลวงปู่สาย เขมธมฺโม สิริอายุได้ 85 พรรษา 29 (เมื่อปี พ.ศ.2550) แม้วัยจะล่วงเข้าสู่ไม้ใกล้ฝั่ง แต่ท่านก็ยังสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้เป็นปกติ ทั้งนี้ ปฏิปทาของหลวงปู่ยังปฏิบัติตามแบบอย่างที่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นนำพาดำเนินไป สำหรับธุดงควัตรที่หลวงปู่ยึดถืออย่างเคร่งครัด คือ บิณฑบาตเป็นวัตร, บริโภคอาสนะเดียวเป็นวัตร และฉันภาชนะเดียวเป็นวัตร ส่วนธุดงควัตรข้ออื่นๆ นั้น ล้วนปฏิบัติตามกาลอันสมควร ถือได้ว่าหลวงปู่เป็นพระดีที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้สนิทใจโดยแท้

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หลวงปู่สาย เขมธมฺโม

๏ พระธรรมเทศนา
• ผู้หนีชาติ ขาดภพ จบเกิด ประเสริฐแท้ ไม่เหมือน ผู้ลอยแพอยู่ในวัฏฏะ เวียนไป วนมา ไม่มีเวลาจบสิ้น • คำเขาด่า เขาว่าเสียดสีใดๆ มันไหลเข้าหูใด ให้ไหลออกหูนั้น ท่านจะไม่ทุกข์ใจ เมื่อไม่เก็บมันไว้ ถ่านไม่มีไฟ ความร้อนมันก็หาย
• แก้ความไม่ดีใดๆ ให้แก้ที่ใจ อย่าไปแก้ข้างนอก เพราะความไม่ดีไม่ชอบมันอยู่ที่ใจ ต้องแก้ไขตรงนี้ จุดนี้สำคัญที่มันฝังอยู่
• นักภาวนาอย่าปล่อยสติ ควบคุมมันไว้ให้อยู่กับปัจจุบัน อย่าปล่อยมันไปอดีต อนาคต อย่าพูดให้เสียคำ อย่าทำให้เสียชื่อ ตีนมือให้รักษา มารยาทจรรยาให้งามอยู่ตลอด
• จิตร้อนให้ถอนด้วยธรรม ใจดำให้ซักฟอกด้วยศีล จะอยู่กินเป็นสุขใจ เมื่อถอนได้ ฟอกได้ อาหารเต็มตา ข้าวปลาเต็มถ้วยเต็มจาน ผู้รับประทานให้รู้จักประมาณ คือ การพอดี อย่าให้โลกตำหนินินทา เหมือนพราหมณ์ผัวนางอมิตตตากินจนท้องแตก
• ผลไม้ก็มีผลดี ผลเน่า คนเราก็มีคนบุญ คนบาป มีทุกภาษาทุกชาติคนบาป คนบุญ ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เขาเป็นธาตุ ๔ ไม่วันหน้าก็วันนี้ เขาจะแตกจะดับกลับไปตามเรื่อง เถียงไม่ขึ้น เขาจะเลือกคืนวันไหนก็ได้ ไม่ใช่ของเราเลย
• เลิกยึดกายเสียบ้าง ปล่อยวางเสียที เขาเป็นธาตุ ๔ ไม่ใช่ตัวเรา เขาไม่เที่ยง เรื่องของเขา ให้เราปล่อยมือ อย่าถือให้หนัก เมื่อรู้จักความจริงว่ามันไม่เที่ยงตามเรื่องของสังขาร ไม่ยึดมันนั้นถูกทางแท้ • นักชก ระวังหมัด นักปฏิบัติ ระวังกิเลส นักชกก็หมดยกสุดท้าย ความตายก็สุดท้ายของชีวิต คบคนชั่วทำไม นักปราชญ์มีถมไปทำไมจึงไม่คบ
• กรรมดีกรรมชั่วมาจากตัวผู้เราทำ มาจากคำที่เราพูด อาหารใจคือธรรมพระศาสดา อาหารตาคือรูปที่ได้ดู อาหารหูคือเสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง
• ความอยากเป็นทุกข์ อยากน้อยทุกข์น้อย อยากมากทุกข์มาก ไม่อยากไม่ทุกข์ ผู้มีสุขคือผู้หมดความอยาก• จิตมืดบอดด้วยกิเลสตัณหา เพราะขาดแสงปัญญา มันจึงมืดบอด จึงนอนกอดทุกข์ ไม่ลุกไปไหน • ช้างเผือกมีกำลังแรงทำลายบ้าน ช้างสารมีกำลังแรงเต็มตัว ไม่เท่าแรงความชั่วของเราผลักดันให้เราหันตกไปในที่ต่ำ
• แก้ตัณหากิเลสต้องแก้ที่ใจ แก้ที่อื่นไม่หาย แก้ที่ใจก็สิ้นเรื่อง มันตั้งบ้านตั้งเมืองมานานอยู่ที่นั้น ตัดกิเลสตัณหาให้ขาด ผู้ใดตัดไม่ขาด ผู้นั้นจะเป็นทาสของมัน หาวันจบไม่พบ
• ตัวอยู่กับเรา เงามาจากตัว ความดีความชั่วมาจากตัวของเรา เหมือนกับเงามาจากตัวเราไม่มีผิด
• ปากเขาอยากไปนิพพาน แต่เขาทำงานอยู่ในนรก อะไหล่รถไม่ดี เขายังเปลี่ยนได้ ใจเราคิดไม่ดี เปลี่ยนความคิดใหม่เสียที ความคิดที่ดีๆ กว่านี้มีถมไป
• ก่อนไม้จะเป็นถ่าน เขาใช้ไฟเผา ก่อนความดีจะเกิดแก่เรา ต้องใช้ธรรมเผากิเลส โลภ โกรธ หลง หายหนี ความงามความดีก็ก้าวเข้ามา
• บุญมาจาก กาย วาจา ใจ บาปใดๆ ก็มาจากที่นี่ ที่อื่นไม่มีทางมา กาย วาจา ใจ เป็นที่ไหลมาของเขา สุขอยู่ที่กายกับใจ ทุกข์ก็อยู่ที่กายกับใจ บ้านสองหลังนี้เป็นที่อยู่ของสุขและทุกข์
• นายังไม่ถาง อย่าพึ่งทำทางเอาเกวียนมาขนข้าว ยังไม่รู้แจ้งธรรมของพระพุทธเจ้า อย่าว่าตัวสำเร็จธรรม
• ดูชีดูพระ ให้ดูข้อวัตรปฏิบัติ ดูคฤหัสถ์ให้ดูการทำมาหากิน ผิดธรรมผิดศีลหรือไม่ ให้ดูที่นี่ ดูคนอย่าดูแต่ร่างกาย ดูหญิงดูชายให้ดูความประพฤติ
• อย่าเชื่อคำโจร อย่าเชื่อคนพาล อย่าเชื่อการทำชั่ว ว่าตัวจะดี สามอย่างนี้จำไว้ เท่าวันสิ้นลมหายใจ ใครเชื่อใครทำจะนำพิษคิดให้ดี
• คนชั่วอย่าร่วมงาน คนพาลอย่าเอาเป็นมิตร คนสุจริตมีถมไปคบทำไมคนชั่ว มันจะเสียตัวผู้คบ
• อย่าพูด อย่าทำ สิ่งที่ไม่ควรทำ คำที่ไม่ควรพูด ละอายมนุษย์ผู้มีหู มีตา ผู้เขามีศีลธรรมพระศาสดา เขาจะหัวเราะ
• ใจไม่คิด ปากไม่พูด ตัวไม่ทำ ความชั่วทรามไม่มีทางมา ใจคิด ปากพูด มือทำ ทำไม่ดีไม่งาม ความชั่วทรามไหลมาหาเราเลย
• ภพน้อยเราก็คงจะไป ภพใหญ่เราก็คงจะมา เพราะอวิชชาบังใจเราไว้ จึงไม่มองเห็นชาติภพของคนจนเท่าวันนี้ ไม่รู้กี่ล้านภพ ไม่จบสักที
• อย่าดีใจจนเกินไป อย่าเสียใจจนเกินไป อย่าร้อนใจจนเกินไป ให้อยู่ในความพอดีนี้สวยงามมาก ถูกหลักศีลธรรม
• ว่าวลอยฟ้าอยู่ได้เพราะลม ศาสนาพระโคดมอยู่ได้เพราะเราไม่ปล่อยให้ศีลธรรมสูญหาย สัตว์เขาไม่ดื่มสุรา ผู้ชอบนักหนาคือมนุษย์ ไม่หยุดสักวัน ดื่มกันอยู่เช่นนั้น วันศีล วันพระ ไม่ละอีกด้วย จนๆ รวยๆ ดื่มได้ไม่เลือกคน
• ผู้ทำความเพียรถึงสว่างคือผู้เดินทางไปพระนิพพาน ไม่มีการพัก พระกรรมฐานต้องอยู่กับความเพียร เหมือนดวงดาวดวงเดือนที่ลอยตัวอยู่บนฟ้า ความเพียรกล้าจึงจะเห็นธรรม
• ผู้ทำความดีเต็มตัว ไม่เหมือนผู้ทำความชั่วเต็มใจ ผู้ทำความดีเต็มตัว ใครเห็นก็บูชา ผู้ทำความชั่วเต็มใจ ใครเล่าเขาจะบูชา เขาเกลียดน้ำหน้า ไม่ฆ่าก็ขังคุก
• ดีเต็มตัวไม่เหมือนชั่วเต็มตน ดีเต็มตัวเขาว่าคนดี ไม่มีความชั่ว ชั่วเต็มตนเขาว่าคนทำชั่วไม่มีความดี ดีไปสุคติ ชั่วไปทุคติ เมื่อละโลกนี้ที่ไปของเขาและทั้งพวกเรา ผู้ทำดีชั่ว
• โจรปล้นไม่เหมือนความเกียจคร้านปล้น โจรปล้นเรายังหาทรัพย์ได้ ความเกียจคร้านปล้น เท่าวันตายเราก็ไม่มีทรัพย์

หลวงปู่สาย เขมธมฺโม







๏ สร้างวัดป่าพรหมวิหาร


ในช่วงที่หลวงปู่สายปลีกวิเวกอยู่ที่ภูน้อย (ภูพนัง) เกิดฝนตกอย่างหนัก ชาวบ้านได้นำสังกะสีเก่าๆ มาทำที่พักชั่วคราวให้ท่านพอกันแดดฝนได้เท่านั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัดป่าพรหมวิหารขึ้นในปี พ.ศ.2524 และท่านก็ได้อยู่จำพรรษาที่แห่งวัดนี้จนถึงปัจจุบัน หลวงปู่สายตกลงใจปฏิบัติภาวนาอยู่ที่ภูน้อย (ภูพนัง) แห่งนี้ ในระยะแรกได้รับความยากลำบากอยู่เป็นอันมาก โดยเฉพาะในเรื่องน้ำ แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับท่าน ตรงกันข้ามกลับกลายเป็นเครื่องสนับสนุนในการปฏิบัติความเพียรเป็นอย่างดี แม้ท่านจะนั่งวิปัสสนากรรมฐานเพียงลำพังด้วยตัวเอง โดยไม่ได้อยู่กับครูบาอาจารย์ แต่ท่านมักจะมีธรรมมาเตือนอยู่เสมอ ไม่ว่าเกี่ยวกับธรรมหรือวินัย ประหนึ่งว่ามีครูบาอาจารย์คอยตักเตือนอยู่เสมอ ทำให้ท่านปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งบางเรื่องไม่มีตำรา




หลวงปู่สาย เขมธมฺโม


๏ ลำดับการจำพรรษา

แม้ในการบวชครั้งที่ 2 ท่านจะมีอายุมากถึง 57 ปีแล้วก็ตาม แต่หลังจากบวช ท่านได้เข้าป่าเพื่อบำเพ็ญเพียรเพียงอย่างเดียว ในปีแรก ได้ไปพำนักจำพรรษาอยู่กับหลวงตาขนบ ณ วัดดอนอีใข อ.เมือง จ.อุดรธานี พรรษาที่ 2 ย้ายไปจำพรรษาที่วัดป่าศรีอุดม อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี โดยมีหลวงปู่แสง ญาณวโร เป็นประธานสงฆ์ คอยให้คำแนะนำ ทำให้การปฏิบัติภาวนามีความรุดหน้า จิตสงบ ในพรรษานี้ ท่านได้มีโอกาสไปกราบเรียนธรรมปฏิบัติกับ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร ณ วัดป่าแก้วชุมพล ต.บ้านชุม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร พระอาจารย์สิงห์ทอง ได้ให้อุบายธรรมเพื่อให้หลวงปู่ได้นำไปพิจารณาและแนะแนวทางในการปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อท่านได้รับความกระจ่างหมดปัญหาที่ติดขัด ก็ออกท่องปลีกวิเวกและธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศ และประเทศใกล้เคียง เพื่อค้นหาความจริงต่อไป ในบางครั้ง หลวงปู่สาย มีโอกาสได้เข้าไปพักอาศัยกับครูบาอาจารย์ เพื่อรับฟังโอวาทธรรม อาทิ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่คำดี ปภาโส, หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ ฯลฯ ในตอนที่หลวงปู่สายเข้าไปกราบ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ นั้น หลวงปู่อ่อนได้ทักขึ้นว่า “ผ่านเสียงได้แล้วนี่” สาเหตุที่หลวงปู่อ่อนทักเช่นนี้ คงเป็นเพราะหลวงปู่สายเดินจงกรมสู้กับเสียงที่เกิดจากเครื่องขยายที่ใช้ในงานมหรสพ หลวงปู่สาย ปรารภว่า “เสียงก็อยู่ส่วนเสียง ไม่เข้ามากระทบจิตเลย ต่างคนต่างอยู่” นอกจากนี้ ท่านยังเป็นศิษย์องค์สำคัญของ “หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน” แห่งวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระสงฆ์ที่ได้คุณธรรมชั้นสูง หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ ไม่เคยตำหนิ หรือกล่าวร้ายผู้อื่นเลย

หลวงปู่สาย เขมธมฺโม






๏ การอุปสมบทครั้งแรก



ในช่วงวัยหนุ่ม ได้ย้ายถิ่นฐานจากบ้านเดิมที่จังหวัดร้อยเอ็ดไปอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี และได้สมรสกับนางปาน ผายม มีบุตรด้วยกัน 2 คน โดยท่านได้หาเลี้ยงครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพทำนาและเลี้ยงปลาขาย เมื่ออายุได้ 48 ปี จึงได้หันเหเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อันเนื่องมาจากท่านได้ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ ตอนแรก ท่านคิดว่าคงจะเป็นเพราะภูตผีเจ้าที่เจ้าทางมาทำให้ป่วย ตามความเชื่อของคนแถบนั้น จึงได้ทำเครื่องเซ่นไปไหว้ผีเจ้าที่เจ้าทาง แต่ปรากฏว่าอาการป่วยไม่ดีขึ้น จึงฉุกคิดว่าไม่ใช่การกระทำของภูตผีดังที่เข้าใจ ท่านคิดหาสาเหตุอื่นที่ทำให้ป่วย ดำริขึ้นมาได้ว่าครั้งหนึ่งเคยป่วยมาก่อน ครั้งนั้น ได้เคยบนเอาไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะบวชแก้บน ต่อมาอาการป่วยหายไปเอง แต่ท่านยังไม่ได้บวช ทำให้ท่านคิดว่าอาจจะเป็นเพราะได้บนบานเอาไว้ แต่ไม่ยอมบวชแก้บน จึงทำให้ต้องกลับมาป่วย เมื่อคิดได้ดังนี้ จึงตัดสินใจบวชแก้บน โดยเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดโยธานิมิต ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีหลวงปู่อ่อนตา เขมงกโร เจ้าคณะอำเภอหนองวัวซอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังเข้ารับการอุปสมบทแล้ว อาการป่วยของท่านก็ได้หายเป็นปลิดทิ้ง แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นการบวชเพื่อแก้บนก็ตาม ท่านก็หมั่นปฏิบัติภาวนาอยู่ไม่ขาด การบวชในครั้งนี้ ท่านครองเพศบรรพชิตอยู่ได้นานถึง 6 พรรษา ก่อนลาสิกขาออกมา สาเหตุเนื่องเพราะมีคนบอกว่าการบวชแก้บนจะต้องสึก ถ้าไม่สึกจะต้องมีอันเป็นไป เพื่อความสบายใจ ท่านจึงขอลาสิกขามาใช้ชีวิตเพศฆราวาส กลับไปอยู่กับครอบครัวเหมือนเดิม






๏ การอุปสมบทครั้งที่ 2



หันกลับมาใช้ชีวิตในเพศฆราวาสได้ไม่นาน ต่อมานายสายเกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลก ตัดสินใจขอบวชอีกเป็นครั้งที่ 2 และนำเรื่องนี้ไปปรึกษาครอบครัวก่อน ซึ่งภรรยาและบุตรต่างยินดีไม่ขัดข้องในความประสงค์ของท่าน ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2521 ณ พัทธสีมาวัดบุญญานุสรณ์ ต.หนองวัวซอ อ.หนองวัวซอ จ. หนองบัวลำภู โดยมีพระครูประสิทธิ์คณานุการ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุวรรโณปมคุณ เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระครูโสภณคณานุรักษ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมธมฺโม” แปลว่า “ผู้มีธรรมอันเกษม”

หลวงปู่สาย เขมธมฺโม


หลวงปู่สาย เขมธมฺโม

วัดป่าพรหมวิหาร ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู

๏ อัตโนประวัติ

ในยุคปัจจุบัน หากเอ่ยนามพระสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีเมตตาธรรมสูงของเมืองไทย ย่อมปรากฏนามพระอริยสงฆ์อยู่หลายรูปด้วยกัน อาทิ หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย, หลวงพ่อสีทน กมโล วัดสิรินธรวราราม (วัดภูพร้าว) อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี, พระอาจารย์เสวก คุณสังวโร วัดป่าดอนยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เป็นต้น รวมทั้ง พระอาจารย์ด้านวิปัสสนาธุระที่เลื่องชื่อแห่งเมืองหนองบัวลำภู “หลวงปู่สาย เขมธมฺโม” เจ้าอาวาสวัดป่าพรหมวิหาร บ้านภูศรีทอง ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู พระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบในสายกัมมัฏฐานหลวงปู่มั่น ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระสงฆ์ที่ได้คุณธรรมชั้นสูง บำเพ็ญเพียรตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่ายปฏิปทางดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็นเป็นร่มโพธิ์ทองของบรรดาพุทธศาสนิกชน ย่อมเป็นที่รู้กันอย่างดียิ่งในหมู่สาธุชนชาวพุทธ หลวงปู่สาย มีนามเดิมว่า สาย แสงมฤค เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2465 ตรงกับวันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ ณ บ้านกุดน้ำใส ต. กุดน้ำใส อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายทอก และนางเคน แสงมฤค เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนวัดบ้านนาชม ต.แสนสุข อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ก่อนลาออกมาช่วยครอบครัวประกอบสัมมาอาชีพ