ธรรมมะ ย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรม

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เสียงธรรมจากพระองค์ที่ 10

ธรรมใดขององค์สมเด็จพระศาสดาที่พ่อเราได้สอนไว้ เธอทั้งหลายได้ชื่อว่า ศากยบุตรพุทธะ เธอเป็นลูกของพ่อ มีความดีเป็นพื้นฐาน จงปฏิบัติตนให้ได้ดังพ่อของเธอ

เอ้าทุกคนก็เชื่อว่า ฤาษีเขาสอนเด็กได้ดี การแก่งแย่งชิงดี เกิดจากโลภะจริต เกิดจากความหลงว่าสิ่งที่ตัวทำเป็นตัวกูของกู ดังนั้นเราอธิบายคร่าวๆว่า ทำให้พุทธศาสนาเจริญ ทุกคนมีเป้าหมายอันเดียวกัน อธิบายอย่างนี้แล้วเขาก็จะเชื่อว่า เขาจะไม่มีตัวหลงนั้นเกิดขึ้น เราต้องแก้ที่เหตุใช่ไหม ว่าสิ่งที่เราทำนี้เพื่อประโยชน์อะไร ประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ส่วนบุคคล ถ้าเป็นประโยชน์ส่วนรวม ทุกคนมีอุดมการณ์ เมื่อทุกคนมีอุดมการณ์ ก็จงทำให้สมกับอุดมการณ์ที่มี ดังหลวงปู่ หลวงพ่อ หลวงพี่ ในวัดไม่ใช่หรือ

การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา หรือธรรมที่องค์พระพุทธเจ้า ทรงสั่งสอน ฉันขอยกแนวสมเด็จองค์ปฐมซักนิด พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า คนเรานี้มีจิตเป็นพุทธะ คือความสะอาด สว่าง แล้วก็มีกายพระอรหันต์อยู่ในใจเสมอ แต่เหตุที่เราไม่สามารถบรรลุธรรมอันวิเศษที่พระอรหันต์ หรือไม่สามารถบรรลุธรรมใดๆได้ ตรงนี้ เพราะมีตัวป้องกัน กำแพงหรือตัวกีดขวางที่เหนียวแน่น กำแพงนั้นประกอบด้วย สามชั้น แล้วก็มี 108-1009 กำแพง มีมากเหลือเกิน แล้วเราก็คิดว่าไม่มี ความคิดว่าไม่มี มันเป็นความประมาทเลินเล่อ เผลอตัว จงทำตัวให้ปราศจากกิเลสหรือขันธ์ห้า ธรรมสว่างที่ใจ จิตพระอริยเจ้าจึงเกิดขึ้น แค่นี้เธอก็จะสว่าง

จงตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท กำจัดกิเลสทั้งมวลที่เกิดขึ้น ทำใจให้โปร่งว่าง และสบาย สิ่งที่ทำในปัจจุบันที่เป็นความผิดยกทิ้งไป คิดซะใหม่ ซะว่าเธอจะตั้งตนทำความดีใหม่

ความผิดก็ส่วนความผิด ความถูกก็ส่วนความถูก เพราะฉะนั้นเธอทั้งหลายทำความผิดมันจัดเป็นความดี เป็นไปไม่ได้ อย่างน้อยๆ ถ้าเธอรู้ก็กลับตัวกลับใจทำเสียใหม่ ก็ถือว่าเรายังไม่สายเกินไป ไม่ใช่หรือ ถ้ากรรมใดที่ไม่ประกอบโดยเจตนา ไม่มีจิตที่เป็นอกุศล ถือว่ากรรมนั้นเป็นโมฆะ จงจำข้อตัดสินนี้เอาไว้

พระพุทธเจ้าก่อนพระปรินิพพาน ตรัสกับพระอานนท์ว่า เธอจงบอกหัวใจเธอเอง พระธรรมวินัยเท่านั้น ที่จะเป็นศาสดาของเธอเองตลอดไป พระธรรมวินัยเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า ปฏิบัติพระธรรมวินัยเป็นใช้ได้ อย่ามาคิดติดอยู่กับวัตถุสิ่งของหรือบุคคล ใช้ประโยชน์มิได้ วัตถุสิ่งของที่มีย่อมแตกสลาย ไม่มีสิ่งใด เที่ยงแท้แน่นอน อนิจจังไม่เที่ยงไม่ใช่หรือ

ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

ศีลเป็นภาคพื้น สมาธิเป็นกำลังเดินทาง วิปัสสนาญาณเป็นคบเพลิงสำหรับส่องทาง

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ปฏิบัติตนให้อยู่ในเขตพระพุทธศาสนา มีศีลบริสุทธิ์ สมาธิก็เกิด เมื่อสมาธิเกิด ปัญญาย่อมมี ปัญญามี ตัวราคะ โทสะ โมหะ ย่อมหาย เมื่อราคะ โทสะ โมหะหาย นั้นแหละคือพระนิพพาน ที่สุดของจิต จบกิจพระพุทธศาสนา

ธรรมะท่านว่า จงปฏิบัติตนให้ละตัวเราตัวเขา คือกายและจิต จงมีจิตที่ปราศจากกิเลส อย่าคิดว่าสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในตัวเราและตัวเขา สิ่งทั้งหลายนี้ย่อมมีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น แยกตัวในท่ามกลาง แตกสลายในที่สุด ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราและตัวเขา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา เมื่อมันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช้ของเขา เราไม่สามารถบังคับบัญชามันได้ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญ เธอจงมองดูใจเธอว่ามีอะไรอยู่ในใจ มีอะไรอยู่ แล้วเราก็ปราศจากสิ่งที่มีอยู่ในใจ ก็ถือว่าถึงที่สุดแห่งพระนิพพาน

เออ! แม่ทัพนี้รบจนวันตาย ชาติสุดท้ายมันอยู่ตรงไหนล่ะ การรบในชาติสุดท้ายก็ต้องพิจารณาดู เธอจงทำจิตให้ปราศจากกิเลส พระนิพพานไม่ใช่คำพูดหรือคำเขียน จิตที่ปราศจากกิเลสนั้นแหละคือ พระนิพพาน ถ้าเธอจะรบเป็นชาติสุดท้าย ก็ไม่ยาก เธอต้องรู้จักตัวเธอเองเสียก่อน ว่าตัวเธอ เธอมีลักษณะเช่นไร เมื่อรู้จักตนเธอเองแล้ว จงทำจิตให้เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน แค่นี้ก็ถึงที่สุดพระศาสนาแล้ว

วิญญาณหรืออทิสมานกายที่ชาวมโนมยิทธิเรียกว่า กายทิพย์นั้น อทิสมานกายหรือกายทิพย์นี้มีกับสัตว์ทุกประเภท ทุกคน ทีนี้คนและสัตว์มีจิตวิญญาณเหมือนกันไหม เหมือนกันคุณโยมเหมือนกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นขาว เป็นดำ เป็นด่าง เป็นแดง ไอ้แต้ม ไอ้จุก อะไรก็แล้วแต่เถอะ มันมีจิตวิญญาณเหมือนกันทั้งหมด เมื่อมีจิตวิญญาณเหมือนกันก็แสดงว่า วิญญาณตัวนี้แหละ คือ ตัวร่างกายเรา ทีนี้เมื่อเราเจ็บ จิตวิญญาณมิได้เจ็บด้วย เมื่อเราป่วยจิตวิญญาณไม่ได้ป่วยด้วย (เธอห้ามถ่ายรูป) เมื่อจิตวิญญาณมิได้ป่วย ร่างกายเราป่วย แต่เหตุที่เรามีความรู้สึก มีอาการเหล่านั้นเพราะเคยชิน ความที่เราผูกพันธ์ต่อมันว่านี้เป็นของเรานะ ตัวกูก็เป็นของกู ผมของกู ฟันของกู เล็บของกู หนังของกู ความจริงมันไม่ใช่ของเขา แต่เราไปยืมเขามาใช้ ใช้แล้วก็หลงระเริงไม่ยอมคืนชาวบ้านเขา นึกว่า กูจะไม่คืนต่อไปล่ะ กูจะคงตลอดชาติ ตลอดสมัย พวกนี้โง่บรรไร บัดซบที่สุดใช่ไม่ได้ ไม่มีปัญญาแล้วยังโง่ หลอกหรือโกงของชาวบ้านเขามาอีก เมื่อเรารู้สภาพความเป็นจริงว่า ตัวเราจริงๆ คือจิตวิญญาณเสียแล้ว พระองค์พระจอมไตรทรงดำรัสต่อไปว่า นี้ในคัมภีร์วัชรวัญญา ฝ่ายมหายาน มีการเขียนคัมภีร์ไว้ในขณะนี้ว่า จิตวิญญาณหรือจิตเดิมแท้ของมนุษย์ทุกประเภทเป็นจิตของพุทธะ พุทธะเป็นความเบิกบาน ความบริสุทธิ์เป็นความใสสะอาด เมื่อจิตของพุทธะมีอยู่ในร่างกายคนเราทุกคนแล้ว ทำไมเราจึงไม่เห็นจิตเดิมแท้ ไม่เห็นธรรมพุทธะหรือไม่เห็นกายที่เข้าใจเรียกว่า กายพระอริยะเจ้านั้นได้ เพราะเหตุที่มีตัวสีมาฉาบให้ไม่สามารถเห็นไอ้ตัวนี้แหละเป็นเครื่องเกาะกินใจอย่างร้ายกาจเป็นเครื่องทำลายความสะอาดบริสุทธิ์ของจิตวิญญาณ สีมีกี่อย่าง กี่ประเภท สีที่องค์สมเด็จพระจอมไตรถือว่าเป็นตัวคอมมิวนิสต์เกาะกินความดีก็คือ ตัวราคะ เมื่อสีราคะเกิดจิตวิญญาณที่ใสสะอาดย่อมเศร้าหมองขุ่นมัว ต่อไปสีตัวที่สอง คือโทสะ เมื่อตัวโทสะเกิดขาดปัญญา เมื่อสีตัวที่สองมี สีตัวที่สามก็ย่อมมี เมื่อมีตัวที่สาม คือ ราคะ โทสะ ตัวที่สามโมหะ ทั้งสามตัวนี้เป็นสีใหญ่ๆ ที่มาแปดเปลื้อนจิตวิญญาณของเราหรือตัวเราจริงๆ ไม่สามารถใช้พลังหรืออำนาจจิตวิญญาณหรือใช้อำนาจกายของเราได้ เพราะนั้น พระองค์สมเด็จพระจอมไตรจึงบอกวิธีการปฏิบัติ ทำต้นให้เข้าถึงจิตแท้ของเธอ จิตเดิมของพระอริยะเจ้า หรือพูดง่ายๆที่พวกเราเรียกว่า กายของพระพุทธเจ้า หรือ กายของพระอรหัตนั้นเอง ดังนั้นเมื่อเรามีกายพระอรหัต กายของพระอริยะเจ้า เราก็มาหาวิธีปฏิบัติให้เข้าถึงกายของพระอรหัติองด์นั้น วิธีปฏิบัติให้ถึงกายพระอริยเจ้าในจิตของเราก็คือ พระองค์ทรงสอนว่า เริ่มแรกต้องทำกายให้เป็นปกติ วาจาให้เป็นปกติ ที่นี้กายวาจาจะปกติได้ พระองค์ทรงบอกว่า ต้องมีสิกขาบท สิกขาบท คือข้อห้าม ข้อยกเว้น
ข้อห้ามนี้เรียกว่า ศีล ศีลแปลว่าปกติ บุคคลใดมีศีล บุคคลนั้นปกติ เมื่อมีกายปกติแล้ว ความสะอาด ความสมบูรณ์ ความบริสุทธิ์ของใจย่อมแพร่พลานุภาพให้เห็น เกิดเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ คือพลังสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วปัญญาย่อมเกิด เมื่อปัญญาเกิดจึงนำเอาปัญญาเหล่านี้ ที่ได้มาจากอำนาจของสมาธิ ศีลนี้ ไปตัดตัวสีทั้งสามตัว คือ ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อเราสามารถชำระล้างจิตใจ คนที่เป็นพระโสดาบัน ก็สามารถเอาพลังอำนาจของจิตวิญญาณแปลสภาพเป็นพลังปัญญานั้นมาล้างตัวราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางน้อยลงหน่อย ถือว่าเป็นพระโสดาบัน คนที่เป็นพระสกิทาคา อนาคา ก็ล้างให้สะอาดมากขึ้นไปอีกนิดนะลดหลั่นตามชั้นของพระอริยะเจ้า คนที่เป็นพระอรหัตนี้หนักแน่นหน่อย ล้างมากหน่อย จึงใสสะอาด เพราะฉะนั้นอำนาจพลังสมาธิเกิดได้เพราะศีล อำนาจศีลเกิดได้เพราะใจ เราตั้งปกติ กายปกติ อำนาจปัญญาเกิด ปกติอำนาจปัญญาเกิดได้เพราะอาศัยสมาธิเป็นเกณฑ์ เมื่อพวกเราทราบอย่างนี้ จิตเดิมแท้ของเราเป็นพุทธะ เราก็น้อมนำตนให้ถึงจิตเดิมแท้ เมื่อพวกเราทราบอย่างนี้ จิตเดิมแท้ของเราเป็นพุทธะ เราก็น้อมนำตนให้ถึงจิตเดิมแท้ ทำความรู้สึกว่าธรรมะอยู่กับตัวเรา เราคือธรรมะ ธรรมะเป็นข้อที่พระพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนไม่ใช่อยู่ที่ไหน มิใช้อยู่ที่พระไตรปิฏก มิใช่อยู่ที่ตำราหรือตัวอาตมา หรืออาศัยครูบาอาจารย์ แต่พวกเรามีธรรมะทุกคน แต่เหตุนี้เราไม่รู้จักเอาธรรมะหรือเอาพระอริยะเจ้าในจิตของเรามาใช้ เพราะว่าเราไปโง่หลงงมงายว่า นี้ของกู ลูกของกู ผัวของกู เมียของกู สมบัติภัสฐานทั้งหมดที่อยู่ในรอบกายเราเป็นของกู เมื่อเป็นของกูตัวนี้ ภาษาศัพย์ธรรมะเรียกว่าอะไร เขาเรียกว่า ความผูกพันธ์ทางใจ ความผูกพันธ์ทางร่างกาย เริ่มแรกนี้มีความผูกพันธ์ทางร่างกายเสียก่อน สร้างพันธะให้แก่ร่างกายขึ้นมา เมื่อพันธะของร่างกายเกิด ใจก็เกิด ใจก็ผูกพันขึ้นมาอีก เพราะฉะนั้นเมื่อใจผูกพัน ไอ้ใจที่เคยใสสะอาดเปรียบเหมือนลูกโป่งที่ลอยไปในอากาศกับไปโดนผูกตึงไว้ มันก็ไม่มีความบริสุทธ์ ไม่มีความสะอาด ไม่มีการเป็นอิสระ ใจอันนี้แหละที่ว่าใจที่โดนสีทั้งสามอย่าง เข้าทำร้ายหรือเข้ามอมเมาให้เกิดความไม่บริสุทธิ์ เรียกว่าใจพระอริยะเจ้าโดนทำรายแต่โดยไม่ชื่อว่าโดนทำลาย เพราะฉะนั้นเมื่อพวกเราทราบถึงตัวเองว่า เราก็เป็นพระอริยะเจ้าคนหนึ่งเหมือนกัน ถ้าสามารถทำได้ ทุกคนก็สามารถทำให้ถึงซึ่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้ คือเข้าถึงแดนพระนิพพาน เพราะใจสว่าง จบ. อาจไม่เข้าใจสำหรับบางคน มีอะไรจะถามอีกไหม

ถามปฏิบัติแล้วจิตระเบิด? พวกเราใช้ธรรม เป็นธรรมเมากันไปหมด เอะอะ อะไรก็เป็นธรรมเมา เอาธรรมไปใช่ในทางที่ผิด กลายเป็นว่าต้องมีโทษมีประโยชน์อย่างนั้นๆ ความจริงแล้ววิธีการปฏิบัติพระกรรมฐานทั้ง 40 อย่างที่องค์สมเด็จพระศาสดาทรงสอนไว้นั้น ความมุ่งหมายของพระองค์ เพื่อหวังให้จิตเราสะอาด บริสุทธิ์เท่านั้น เพื่อให้จิตเราสงบ เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเราสงบก็ถึงแดนพระนิพพานได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถบังคับ ควบคุม อารมณ์กาย อารมณ์ใจขึ้นได้ ถือว่ามันยังไม่ระเบิดหรอก การตั้งคำถามต้องถามให้ตรง ถามให้ถูก ถามอย่างผู้รู้ อย่าถามแบบคนโง่ ผู้รู้ทำไมต้องถามกันบ้าง เพราะฉะนั้นคนที่มีคำถามถือว่าไม่เป็นคนโง่ แต่ถ้าถามชนิดที่เรายังไม่เข้าใจคำถามของเราเลย อย่าเอาคำถามนั้นมาใช้เลยดีกว่า เพราะตัวเราเอง ยังไม่รู้ว่าแปลว่าอะไรเลย แล้วเราจะไปถามชาวบ้านเขาได้ยังไง

ขอดวงตาเห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรมไม่ใช่อยู่ที่ฉัน ดวงตาเห็นธรรมอยู่ที่จิตของโยม เพราะฉะนั้นจงทำจิตให้เห็นธรรม โดยการตัดตัว ราคะ โทสะ โมหะ ทิ้ง ทำจิตให้ว่าง นั้นแหละคือพระนิพพาน

ถ้าเราอยากได้พระนิพพาน พระนิพพานไม่ใช่คำพูด ไม่ใช่ตัวหนังสือ หรืออักษร แต่เป็นการปฏิบัติ พระนิพพานต้องทำใจให้ว่างสะอาด ผ่องใส นี้คือพระนิพพาน ความว่างเกิดขึ้นกับใจเมื่อใด นั้นคือพระนิพพานของเธอ เพราะฉะนั้นอยากได้พระนิพพานอย่ามาเดินขอชาวบ้าน ต่างคนต่างทำเอา ถือว่าอยู่ที่ความปราถนาและความสามารถของตน

เทศน์โปรดครั้งสุดท้ายก่อนไม่รับแขก


เธอทั้งหลายที่พากันมาประชุมในที่นี้ อาราธนาให้เราแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า พวกเธอทั้งหลายมีใจเป็นบุญเป็นกุศล คิดว่าจะปฏิบัติในกิจของพระพุทธศาสนาให้บรรลุถึงที่สุด คือพระนิพพาน พวกเธอทั้งหลายจงทำใจให้ได้ซึ่งกระแสพระนิพพานเสียก่อน วิธีทำใจให้ได้กระแสพระนิพพานนั้น วันนี้ฉันจะพูดทั้งวันเรื่องจิตของเธอเอง ทำความรู้สึกของจิตหรือใจของเราว่าอะไรเป็นของเราบ้าง กายมั่นอยู่ที่ไหน ใจมันอยู่ที่ไหน สิ่งไหนกายและใจ อะไรเป็นของเรา เมื่อมีความรู้สึกว่าเป็นของเราแล้ว เราก็สามารถ คัดเอาสิ่งที่ไม่ดีไม่งามออก จากตัวเรา คือ จิตหรืออทิสมานกาย คนที่ตายไปมีลักษณะเปรียบเหมือนใยบัวที่ทุกคนเห็น นี้เป็นร่างกายส่วนข้างในคือ อทิสมานกายหรือกายทิพย์ เพราะฉะนั้นร่างกายมีลักษณะที่เหยี่ยวย่น ไม่มีลักษณะอาการที่น่าดู แต่ว่าใจโปร่งใส และเบาใช่ไหม เมื่อข้างในโปร่งใส จิตอันนี้แหละ เป็นจิตพระอริยะเจ้า ทุกคนมีจิตอย่างนี้อยู่เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายวิธีทำใจให้เข้าถึงจิตแห่งพระอริยะเจ้า จงวาง ภาระธุระทั้งหมด ครั้งใดที่คิดจะทำกิจพระพุทธศาสนา อย่าให้มีภาระธุระ มีความกังวลใจ ความว้าวุ่น เศร้าหมอง ข้องใจ ปรากฏในจิต แค่นี้เธอก็สามารถบรรลุถึงจิตพระอริยะเจ้าได้โดยไม่ยาก เข้าถึงกระแสพระนิพพาน ขีดสุดพระพุทธศาสนา จบคำเทศน์ครั้งสุดท้าย


ให้พรหลังเทศน์ครั้งสุดท้าย

ขอตั้งสัจจาอธิษฐาน ท่านผู้มาแล้วก็ดี ยังไม่มาแล้วก็ดี ผู้หวังพบเราก็ดี มิได้หวังพบเราก็ดี ขอเธอทั้งหลายเหล่านั้น ผู้มีใจเป็นบุญเป็นกุศล จงสำเร็จสัมฤทธิ์ผลตามมโนรสพึงปราถนา สิ่งใดที่ไม่ผิดในธรรมวินัยแล้วไซร้ ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและถูกกฎหมายบ้านเมือง สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จงพึงบังเกิดแก่ท่านที่มาแล้วก็ดี มิได้มาก็ดี ด้วยที่สุดสิ้นทุกข์ด้วยเทอญ
สาธุ สาธุ สาธุ

ไม่มีความคิดเห็น: